สัมมาชีพ: แนวคิดและกระบวนการเสริมสร้างความสุจริตและความรับผิดชอบในการประกอบอาชีพของประชาชนในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระพรหมวชิรโมลี
พระราชวิมลโมลี
บรรจง โสดาดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ เพื่อศึกษาการเสริมสร้างสัมมาชีพ 1. ผู้ประกอบการค้าขายผ้าไหม 2. ผู้ประกอบการค้าขายประคำ 3. ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ และ 4. คนเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ การร่วมสนทนากลุ่มเฉพาะ และแบบสอบถาม จากกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มผู้นำหรือปราชญ์ชุมชนและกลุ่มผู้ประกอบการสัมมาชีพ นำเสนอผลวิจัยเชิงพรรณนา


ผลวิจัยพบว่า 1. กลุ่มสัมมาชีพผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์มีอัตลักษณ์เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียง เน้นการท่องเที่ยวการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมผ้าไหมยกทองโบราณ ผ้าไหมโฮลโบราณ และเน้นในวิถีชุมชน คุณธรรมสำคัญคือความซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สร้างจิตสำนึกในคุณค่าแห่งภูมิปัญญาดั้งเดิม 2. กลุ่มสัมมาชีพประคำเขวาสินรินทร์ชุมชนเขมรโบราณ หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงินที่มีอัตลักษณ์สวยงามมีเสน่ห์ด้วยลวดลายดั้งเดิม มีกระบวนการฝึกทักษะถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาช่างจากรุ่นสู่รุ่นเป็นรหัสนัยแบบตัวต่อตัว คุณธรรมเน้นความเพียรและความอดทนซื่อตรงต่อผู้บริโภคผ่านระบบกลไกตลาด 3. กลุ่มสัมมาชีพเกษตรอินทรีย์เป็นวิธีการผลิตลดการใช้เคมีโดยใช้สารอินทรีย์แทน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เน้นการเกษตรแบบผสมผสาน การแปรรูป การตลาด โดยใช้หลักศีลธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีน้ำใจเอื้อเฟื้อกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลคนในชุมชน ส่งผลให้ผลิตผลได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วไป 4. กลุ่มสัมมาชีพคนเลี้ยงช้าง ส่วนใหญ่เป็นชาว “กูยอาเจียง” มีความรอบรู้ด้านคชลักษณ์ คชศาสตร์ ผูกพันกับช้างมาแต่โบราณ เชื่อผีปะกำที่เป็นแกนกลางเชื่อมโยงครอบคลุมวิถีชีวิตในทุกมิติ ปัจจุบันกลุ่มคนเลี้ยงช้างมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีการปรับตัวในการดำรงชีวิตให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป บนพื้นฐานความขยัน ซื่อสัตย์ สุจริต อดทน และฉลาด


 

Article Details

How to Cite
พระพรหมวชิรโมลี, พระราชวิมลโมลี, & โสดาดี บ. . (2023). สัมมาชีพ: แนวคิดและกระบวนการเสริมสร้างความสุจริตและความรับผิดชอบในการประกอบอาชีพของประชาชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 723–735. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/254074
บท
บทความวิจัย
Author Biography

พระพรหมวชิรโมลี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

มจร วิทยาเขตสุรินทร์

References

Community Development. Ministry of Interior. (2019). Guidelines for Building Community Livelihoods. Bangkok: TBS Co., Press, Ltd.

Fine Arts Department. (2007). Surin's History. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.

Klaiwichian, S. et al. (2007). Development of Elephant Villages as a Tourist Attraction in South Isan. (Research Report). Buriram Rajabhat University.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

National Reform Council. (2015). National Reform Council Agenda 28: System Reform to Build Strong Communities: Community Reform Plan. Bangkok: Publishing House of the Representatives House Secretariat.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2012). Buddha-Dharma (Extended Edition). Bangkok: Pli Dharma Publishing House.

Phabu, S., Phabu, T., & Kasetsing, R. (2013). Lifestyle Living According to the Principles of Sufficiency Economy of Silk Weaving Group in Surin Province. Humanities and Social Sciences. Vol. 30 No. 1: January-April 2013, 1-16.

Political Economics. (2011). Buddhist Economics. Retrieved 31, 2011, from https://nanapolecon.wordpress.com/2011/08/31>

Surin Provincial Office. Strategic and Information Group for Provincial Development. Development Plan of Surin Province. 2018-2022 (Review Edition 2020).

Wasi, P. (2009). Series of Thailand Reform on New Approach in Country Development, Building of Full Area Right Livelihood: The Foundation of Peace and Happiness. Bangkok: TQP Co., Ltd.