การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2

Main Article Content

พิณญาดา จาบจินดา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบเชิงทดลองแบบแผนการวิจัยเป็น The one-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลวัดพรหมจริยาวาส สังกัด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ มี 5 ขั้นตอน 2) แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มี 24 กิจกรรม 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 1 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample  


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (The PISAA Model) มี 5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา ขั้นที่ 2 การค้นหาความคิด ขั้นที่ 3 การเลือกกลวิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 การลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 5 การประเมินผล 2) เปรียบเทียบ E1/E2 กับเกณฑ์ 80/80 ประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 85.01/85.00 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (gif.latex?\bar{x} =13.60, =1.63) เพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย (gif.latex?\bar{x} =9.30, =1.63) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
จาบจินดา พ. (2023). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 495–507. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/253592
บท
บทความวิจัย

References

Chareonwongsak, K. (2007). Factors Affecting the Efficiency and Effectiveness of Management. of the Organization. Bangkok: S. Asia Place.

Chuchat, S. (2008). Demonstration SWU. Winner of the Gold Medal for the World’s Creativity in Korea. Bangkok: Srinakharinwirot University. Prasarnmit.

Khamanee, T. et al. (2010). Pedagogical Science. Body of Knowledge for Organizing Effective Learning Processes. Bangkok: Printing House of Chulalongkorn University.

Kulem, S. (2012). Development of Problem-Based Learning Experience Model. To Develop Problem Solving Abilities of Early Childhood Children. (Research Report). Songkhla: Thaksin University.

Ministry of Education. (2002). National Education Act 1999 and Its Amendments. Bangkok: Teachers Council of Ladprao.

Nilphan, M. (2009). Educational Research Methods. Nakhon Pathom Childhood: Silpakorn University Printing House.

Phakamas, D. (2011). The Ability to Solve Problems of Early Childhood Children Who Received. Thai Dessert Cooking Activities. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University Prasarnmit. Bangkok.

Phithiyanuwat, S. (2009). Scientific Method of Evaluating Science of Value. Bangkok: Printing House of Chulalongkorn University.

Poompachat, P. (2009). Development of a Model for Creating Creative Problem-Solving Experiences for Early Childhood. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Samichit, N. (2008). Development of Problem-Soving Ability of Early Childhood by Providing Experience Through Research Proves. (Master’s Thesis). Graduate School: Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Sinlarat, P. (2012). Curriculum and Teaching Management. Bangkok: Printing House of Chulalongkorn Unversity.

Sornsing, R. (2016). Development of Problem-Solving Ability of Early Childhood Using Educational Games. (Master’s Thesis). Program and Teaching Areas Pibulsongkram Rajabhat University. Phitsanulok.

Susaraj, P. (2008). Thinking Development. Bangkok: 9119 Printing Techniques.

Thamboworn, N. (2008). Early Childhood Education Program. Bangkok: Printing House of Chulalongkorn Unversity.

Wongvanit, S., & Wiratchai, N. (2005). Research and Development for Whole School Reform. Bangkok: Printing House of Chulalongkorn University.

Wongyai, W. (2009). Comprehensive Curriculum Development. Bangkok: Printing House of Chulalongkorn University.