แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างแรงใจก้าวอย่างมั่นใจสู่ครูมืออาชีพ

Main Article Content

สุภาพร ชูสาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างแรงใจก้าวอย่างมั่นใจสู่ครูมืออาชีพ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้โครงการเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างแรงใจก้าวอย่างมั่นใจสู่ครูมืออาชีพ เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 40 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .82 และการถอดบทเรียนหลังปฏิบัติการและการสนทนาอภิปรายกลุ่มย่อย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีเปรียบเทียบแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ ซึ่งกำหนดค่าความเชื่อมั่น ในการทดสอบทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ .05


ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความต้องการความสำเร็จ 2) ด้านความต้องการความผูกพัน 3) ด้านความต้องการอำนาจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.96, S.D. = 0.37) 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาก่อนเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างแรงใจ ก้าวอย่างมั่นใจ สู่ครูมืออาชีพ ทั้ง 3 ด้าน รวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =3.84, S.D. = 0.37) เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลังเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างแรงใจ ก้าวอย่างมั่นใจ สู่ครูมืออาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\bar{x} =4.09, S.D. = 0.37) การทดสอบค่าที (t-test) หลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ชูสาย ส. . (2023). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างแรงใจก้าวอย่างมั่นใจสู่ครูมืออาชีพ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 453–464. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/253571
บท
บทความวิจัย

References

Chitmongkol, R., & Boriban, P. (2013). Factors Affecting Achievement Motivation of Nursing Students at the Boromarayonani College of Nursing, Udonthani. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 22(1), 98-99.

Educational Research Division. (2002). Research News. Bangkok: Educational Research Division, Department of Academic Affairs, Ministry of Education.

Laeheem, K. (2007). Components for Forecasting Student Achievement in Schools. Private Islamic Teaching in the Three Southern Border Provinces. Songklanakarin Journal Social Science Edition and Humanities, 13(3), 435-453.

McClelland, D. C. (1987). Characteristics of Successful Entrepreneurs. Journal of Creative Behavior, 21(3), 219-233.

Parnichparinchai, T. (2016). Transformative Learning: A Learning Management in Pre-Service Teacher Training. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 22(2), 1-11.

Pisanwacharin C. (2014). Motivation and Goals in Life of Dhurakij Pundit University Students Participation Dream and Commitment to Success Project. Retrieved July 3, 2019, from https://www.dpu.ac.th/dpurdi/research/377

Phetchabun Rajabhat University. (2020). 3-Year Government Action Plan (2020 - 2022). Retrieved July 7, 2021, from https://www.pcru.ac.th

Whittaker, R., Kemp, S., & House, A. (2007). Illness Perceptions and Outcome in Mild Head Injury: A Longitudinal Study. Journal of Neurol Neurosurg & Psychiatry with Practical Neurology, 10(78), 644-646.