การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสื่อสารทางไกล ด้วยโปรแกรม Broad Caster เพื่อพัฒนาทักษะด้านการพูด อ่าน เขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สำหรับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโป่งตะแบก อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

นิตยา นาคอินทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสื่อสารทางไกลด้วยโปรแกรม Broad Caster เพื่อพัฒนาทักษะด้านการพูด อ่าน เขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สำหรับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโป่งตะแบก อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็น รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสื่อสารทางไกลด้วยโปรแกรม Broad Caster แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสื่อสารทางไกลด้วยโปรแกรม Broad Cster แผนการจัดการสอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 แบบทดสอบ Pre O – NET คู่มือการใช้งานโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนแบบสื่อสารทางไกลด้วยโปรแกรม Broad Caster สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสื่อสารทางไกลด้วยโปรแกรม Broad Caster ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีประเมินประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 87.78 % สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80/80 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทยจากการทดสอบข้อสอบ Pre O - NET เมื่อเทียบผลสัมฤทธิ์กับเกณฑ์ พบว่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปี 2560 และค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ความสามารถด้านการพูด อ่าน เขียน วิชาภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 12.03

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bhumibol Adulyadej. (1999). National Education Act of 1999. Retrieved March 3, 2017, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF

Chuinkeaw, P., Keawamporn, P., & Kochakornjarupong, D. (2009). Development of a Tutoring Program for Learning Tree Data Structure Based on Robert Gagné’s Concepts of Instructional Theory. Thaksin J. Journal, 13(2), 27.

Gerdruang, A. (2017). Promoting Learning in the 21st Century to Support Thai Society in the Digital Age. Lampang Rajabhat University Journal, 6(1), 173-184.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2003). Exploration-Based Teaching Model 5E. Retrieved March 3, 2017, from https://sites.google.com/a/kkumail. com/lesson-study-for-science/rup-baeb-kar-sxn-baeb-sub-seaa-hakhwam-ru-5e

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok. Retrieved June 3, 2017, from https://drive.google.com/file/d/1mKyU6tkVWlL5b6vfwHNEzqkcqVXf_H-m/view

Na Songkhla, J. (2017). Digital Learning Design. (1st ed.). Bangkok: Department of Educational Technology and Communication, Faculty of Education, Chulalongkorn University.

Panmanee, A. (1991). Pedagogical Psychology. Retrieved March 3, 2017, from http://lib.neu.ac.th/ULIB/dublin.php?ID=890

Vejviriyasakul P. (2018). Research and Development (R&D) Model; and Participatory Action Research (PAR) Model. Retrieved March 3, 2017, from https://www.ubu.ac.th/web /files_up/08f2018072012262188.pdf