การนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมในกฎหมายโบราณอีสาน

Main Article Content

อัญชลี รัตนธรรม
ราชันย์ นิลวรรณาภา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมในกฎหมายโบราณอีสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เป็นกรอบแนวคิดสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการศึกษาข้อมูลจากกฎหมายโบราณอีสานฉบับปริวรรตของ Channawet (2017) จำนวน 18 ฉบับ ได้แก่ 1) หลักคำเมืองร้อยเอ็ดหลักที่ 1 2) หลักคำเมืองร้อยเอ็ดหลักที่ 2 3) หลักคำเมืองร้อยเอ็ดหลักที่ 3 4) อาณาจักรหลักคำเมืองสุวรรณภูมิ 5) หลักคำเมืองกาฬสินธุ์ 6) หลักคำเมืองภูเขียว 7) อาณาจักรหลักไชยพระไชยเชษฐาธิราช 8) หลักคำเมืองสกลนคร 9) กฎหมายโบราณ (หลักคำ) 10) อาณาจักรธรรมจักหลักไชย 11) อาณาจักรธรรมศาสตร์-ราชศาสตร์-สร้อยสายคำ 12) คัมภีร์พระธรรมศาสตร์เมืองขอนแก่น 13) สร้อยสายคำ 14) คัมภีร์โพสะราช 15) คัมภีร์ธรรมศาสตร์-ราชศาสตร์ 16) พระธรรมนูญ 17) พระธรรมศาสตร์ และ 18) พระอัยการ ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายโบราณอีสานมีการนำเสนออุดมการณ์ทางสังคม 7 อุดมการณ์ ได้แก่ 1) อุดมการณ์เกี่ยวกับผู้ปกครอง-ผู้ใต้ปกครอง 2) อุดมการณ์เกี่ยวกับศาสนา 3) อุดมการณ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ 4) อุดมการณ์เกี่ยวกับบทบาทชายหญิง 5) อุดมการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก-ผู้ใหญ่ 6) อุดมการณ์เกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติและ 7) อุดมการณ์เกี่ยวกับชาตินิยม โดยการแทรกอุดมการณ์ภายใต้ความกลัวบทลงโทษจากการทำผิดกฎหมายทำให้ซึมซับอุดมการณ์เหล่านั้นโดยที่ไม่รู้ตัวตัวบทกฎหมายที่เรามองเพียงแค่ว่าเป็นตัวบทที่บังคับหรือควบคุมคนในสังคมอีสานให้ประพฤติอยู่ในกรอบระเบียบ จารีต ประเพณี แท้จริงแล้วยังมีอำนาจบางอย่างที่แฝงอยู่ในตัวบทเหล่านี้ โดยผู้เขียนใช้อำนาจผ่านภาษาในการครอบงำความคิดของคนในสังคมเพื่อให้คนในสังคมอยู่ในกรอบระเบียบของสังคมที่ผู้เขียนตีกรอบไว้ให้ ว่า พฤติกรรมแบบไหนดี แบบไหนไม่ดี รวมทั้งการปลูกฝังให้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aungkhaphanitchakit, C. (2018). Discourse Analysis. Bangkok: Thammasat Publishing.

Channawet, C. (2017). Press the ancient sign from ancient documents in the Northeast IsanInstituteof Arts and Culture, Mahasarakham University. Mahasarakham: Apichat Printing.

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: the critical study of language. London: Longman.

Kaewchandee, N. (2017). The construction of Isan ancient law B.E 2322-2433. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Pitsanulok.

Nantachukra, A. (1986). IsanHistoriography: A study of Northeastern Thailand ‘s Historiographical Traditions Until the Beginning 20th century. (Master’s Thesis). Silpakorn Univesity. Bangkok.

Phakdeephasook, S. (2010). Discourse on femininity in Thai language health and beauty magazines.Bangkok: Office of the Higher Education Commission and the Office of Research Fund.

Soythongdee, S. (2009). The Presentation of motherhood ideology in advertisement discourse in family magazines. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Untaya, S. (2008). Lao Customary Law: Lao Society 1353-1695. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Maha Sarakham.