การศึกษาความต้องการของผู้ประกอบการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สินค้า OTOP สู่สากล

Main Article Content

ดารณี ธัญญสิริ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงความต้องการของผู้ประกอบการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สินค้า OTOP 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาแอปพลิเคชันและเว็บในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า    เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดสระบุรี จำนวน 120 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan และผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้า OTOP ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแอปพลิเคชันและเว็บ รวม 17 คน โดยเลือกพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจง คือ ศูนย์โอทอปคอมเพล็กซ์พุแค จังหวัดสระบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการสินค้า OTOP ต้องการให้มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ คือ สวยงาม แข็งแรง สามารถปกป้องสินค้า สะดวกในการขนส่ง/พกพา เปิดปิดใช้ง่าย อนุรักษ์ธรรมชาติ แปลกใหม่ ทันสมัย มองเห็นสินค้าภายใน โดยต้องการให้มีข้อมูลต่างๆ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ฉลากสินค้าให้ครบถ้วน และผู้ประกอบการมีความคิดเห็นว่า ลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่ส่งขายต่างประเทศควรมีเอกลักษณ์ความเป็นไทย แนวธรรมชาติดูสะอาด สดชื่น ทันสมัยเรียบง่าย หรูหรา และการ์ตูนน่ารัก ทั้งนี้หากมีแอปพลิเคชันช่วยออกแบบจะมีประโยชน์ โดยต้องการแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือและเครื่องคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาแนวทางในการพัฒนาแอปพลิเคชันและเว็บในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า พบว่า แอปพลิเคชันต้องสามารถออกแบบได้หลากหลายรูปทรง เหมาะสมกับลักษณะสินค้า ขนาดไฟล์ภาพของรูปทรงควรจะพอเหมาะ แสดงผลบนเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว จำนวนรูปแบบตัวอักษรและขนาดของตัวอักษรควรมีหลากหลายรูปแบบและขนาด อ่านง่าย ทันสมัย ลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ ควรมีหลากหลายรูปแบบ การเลือกขนาดและรูปแบบฉลากติดสินค้า ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับรูปร่างและขนาดของบรรจุภัณฑ์และแอปพลิเคชันควรมีลักษณะใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buddhapoompitak, W. (2015). OTOP Product TO AEC. Western University Research Journal of Humanities and Social Science, 1(2), 100-112.

Duncan, T. (2008). Advertising & IMC. 2nd ed. New York: McGraw-Hill/Irwin.

Klinkaewnarong, S. (2015). Packaging Design to Drive OTOP Products. Department of Science Service Journal, 63(199), 19-21.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. 10th ed. New Jersey: Prentice – Hall.

Ministry of Interior, Community Development Department. (2015). Handbook for New OTOP Entrepreneurs. Retrieved December 3, 2019, from http://www.oic.go.th/ FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER091/GENERAL/DATA0000/00000183.PDF

Mukem, D. (2017). Development of the Product Configuration of Dried Shrimp Paste Packaging in Baan Pring, Phangnga Province. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 3(2), 69-79.

Pakeechay, K. & Tipanate, A. (2016). An Approach for OTOP Product Development on Preparing to AEC in Case of Miniature Model Tambon Ban-Len Woman Group. The 1st Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi National Conference: The 1st RUSCON (pp.586-596). Phranakhon Si Ayutthaya. Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi (Huntra Campus).

Russell, J. T. & Lane, W. R. (1999). Kleppner ’s Advertising Procedure. (14th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Santijitpakdee, J. (2009). Web Application for Structural Packaging Design by Using Expert System. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Tchiarakul, T. (2014). The Problems and the Adaptation of OTOP to AEC. Executive Journal, 34(1), 177-191.

Thee-asana, P. (2018). Development Smart Label to Boost Revenue Using Augmented Reality Technology. Journal of Project in Computer Science and Information Technology, 4(2), 1-6.

Thongrungroj, S. (2012). Packaging Design. Bangkok: Chulalongkorn University.

Tancharoen, S. (2018). Quality Development Guidelines for OTOP Product of Community Enterprise in Muang District, Samutsongkhram Province. Lampang Rajabhat University Journal, 7(2), 155-166.

Techakarnchanakit, P. (2013). Effects of Drinking Water Packaging with Eco-Friendly Design on Consumer’s Perception and Purchasing Decision. Journal of Communication Arts, 31(3), 46-6.