รูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ฉัตรชัย พุ่มชูศักดิ์
จิติมา วรรณศรี
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบ     จัดการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา และ (3) เพื่อประเมินความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ของรูปแบบจัดการศึกษาที่     บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา บทความครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายเปิด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการถอดเทปแล้ววิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


1) ผลการศึกษาการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ด้านการจัดการ (2) ด้านกระบวนการบริหาร (3) ด้านผลประโยชน์จากความร่วมมือ (4) ด้านหลักสูตร (5) ด้านการจัดการเรียนการสอน


2) รูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการจัดการ มี 2 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบที่ 2 ด้านกระบวนการบริหาร มี 3 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบที่ 3 ด้านผลประโยชน์จากความร่วมมือ มี 2 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบที่ 4 ด้านหลักสูตร  มี 2 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบที่ 5 ด้านหลักสูตร มี 2 องค์ประกอบย่อย


3) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากและ  มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริงอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
พุ่มชูศักดิ์ ฉ., วรรณศรี จ. ., & เชาวน์ชัย ส. . (2022). รูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 3143–3155. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/252589
บท
บทความวิจัย

References

Bangkok Business. (2016). An In-Depth Look at the Quality of Vocational Education in Thailand to the Right Solution. Retrieved 13 September 2017, from https://www.bangkokbiz news.com/blog/detail/638574

Chomjai, T. (2011). The Development of Collaborative Model for Tripartite Vocational Education System. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University.

Pholkhan, B. (2018). Development of a Bilateral Vocational Education Management System by Applying the Principles of Philosophy of Sufficiency Economics: A Case Study of Mahasarakham Polytechnic College. (Doctoral Dissertation). Rajabhat Maha Sarakham University.

Phonsakkul, P. (2007). Budget Management Budget Process Model: School-Based Model in Elementary Schools under the Office of the Basic Education Commission. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University.

Poonsap, A. (2018). RMUTT. Lanna Joins Hands with Betagro to Create "WiL Students". Work. Retrieved October 30, 2018, from https://www.rmutl.ac.th/dsk/news/

Srichomphu, T. (2013). The Model Development of Administration for Dual Vocational Training in Education Institutes under the Office Vocational Education Commission. (Doctoral Dissertation). Naresuan University.

Sritrakool, V. (2014). The Development of Dual Vocational Training Education Management Nongkhai Technical College. (Doctoral Dissertation). Udon Thani Rajabhat University.