การพัฒนาหลักสูตรข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน กศน.

Main Article Content

อติพร เกิดเรือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างหลักสูตร 2) เพื่อประเมินความสอดคล้องของหลักสูตร 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตร และ 4) เพื่อศึกษาผลการนำหลักสูตรไปใช้ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ผ่านการสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน. จำนวนทั้งสิ้น 129 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษา พบว่า 1) ทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นของหลักสูตร ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ อาทิสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการ อาทิ การส่งเสริมให้มีภาวะผู้นำทางวิชาการ และ 3) การบริหารและการจัดการในสถานศึกษา และจัดให้มีการฝึกประสบการณ์ตามสภาพจริงในสถานศึกษาต้นแบบ อาทิ นโยบาย ภารกิจของสถานศึกษาและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้อำนวยการสถานศึกษา ผลการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 5 คน พบว่า หลักสูตรมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระดับสูง ตั้งแต่ 0.8 ถึง 1.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2. ผลการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตร พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนเมื่อเทียบเป็นค่าร้อยละจะมีค่าประสิทธิภาพของหลักสูตรสูงกว่า E1/E2 (94.78/83.00) เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด E1/E2 (80/80) 3. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อวิทยากร เฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ มีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุดเกือบทุกด้าน 4. ผลการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาฯ พบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนามี คะแนนรวมเฉลี่ยในทุกด้านผ่านเกณฑ์ทุกคน ทั้งในส่วนที่ 1 การพัฒนาสมรรถนะ ส่วนที่ 2 การจัดทำและการนำเสนอผลงาน และระยะเวลาในการเข้าร่วมพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Beach, S. (1970). Personal: the Management of People at Work. New York: Macmillan.

Ministry of Education. (1999). National Education Act of B.E. 2542 (1999). Bangkok: Khurusapha Printing. Ladprao.

Office of the Teachers’ Civil Service and Educational Personnel Commission (2009). Criteria and Development Approach for the Teacher Civil Service and Educational Personnel before Appointment of the Educational Institute Deputy Director and Director MOE 0206.7/Wor18 dated 8 Oct. 2009. Bangkok: Ministry of Education.

Phanpumpo, N. (2018). The factors affecting the success of school administration of the school in secondary educational service area office 7. Journal of educational research faculty of education SWU, 13(1), 81-96.

Phonsima, O. (1987). Teaching Technology. Bangkok: OS Printing House.

Phromwong, C. (2013). Media performance test or teaching kit. SilpakornEducational Research Journal, 5(1), 7-20.

Runcharoen, T. (2010). Professionalism in Educational Organisation and Administration in the Educational Reform Era. Bangkok: L.T. Press Company Limited.

Saylor, J. G., Alexander, W. M., & Arthur, J. L. (1981). Curriculum Planning forBetter Teachers and Learning. (4th ed.). New York: Holt Rinenhart and Winston.

Sinlarat, P. (2011). Creative and Productive Leaders: New Paradigms and New Leaders in Education. Bangkok: CU Printing House.

Sravasee, A. (2016). Developing a Competency Model for Educational Administrators. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Srinimitkeaw, L. (2010) Curriculum Training Development to Raise Leadership Character for Students’ Club Committee Faculty of Home Economics Technology. Bangkok: Rajamangala University of Technology Krungthep.

Thongkon, W. (2011). Development of a Training Curriculum to Enhance the Knowledge and Quality Assurance Skills of Undergraduate Students. (Doctoral Dissertation). Burapha University. Chon Buri.

Tulachom, P., Wongsri, C., & Pupat, P. ( 2014). The Model for the Development of the Characteristics of Professional Administrators in Secondary Schools. Journal of Graduate Studies, 11(53), 173-178.