แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของพระนิสิต นักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาของสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของพระนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ของสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการศึกษา ในการส่งเสริมอัตลักษณ์ของพระนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการใช้แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ จำนวน 3 รูป และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จำนวน 3 รูป และจากแบบสอบถามซึ่งจัดเก็บจากพระนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 100 รูป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยแสดงเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีพรรณา
ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตลักษณ์พระนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาของสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ มี 6 ประการ 1) น่าเคารพ 2) รู้เท่าทันโลก 3) มีภาวะผู้นำ 4) มีจิตอาสา 5) พัฒนาตนเอง 6) พัฒนาชุมชน และสังคม
2) แนวทางการจัดการศึกษาในการส่งเสริมอัตลักษณ์ของพระนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า 2.1) ระดับการส่งเสริมอัตลักษณ์ที่ผ่านกระบวนการจัดการศึกษาทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอาจารย์ผู้สอน 2) ด้านหลักสูตร 3) ด้านวิธีการสอน 4) ด้านสื่อการเรียนการสอน 5) ด้านสถานที่ศึกษาและบรรยากาศแวดล้อม และ6) ด้านกิจกรรมของพระนิสิตนักศึกษา ซึ่งทั้ง 6 ด้านมีผลรวมเฉลี่ยรวมในการส่งเสริมระดับ ปฏิบัติมาก 2.2) แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ มีแนวทางดังนี้ 1) พัฒนาอาจารย์ผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และมีมีคุณธรรม จริยธรรม และดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี 2) การออกแบบหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่สามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า 3) การจัดการเรียนรู้ เน้นการสอนแบบความรู้ คู่คุณธรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 4) นวัตกรรมการเรียนการสอน มุ่งเน้นการใช้สื่อดิจิทัล และการสืบค้นด้วยระบบออนไลน์ที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัล 5) การจัดสถานที่และบรรยากาศแวดล้อม มุ่งเน้นให้เกิดอุทยานการเรียนรู้และเชื่อมโยงการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ที่อยู่ในสภาพจริง 6) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มุ่งเน้นคุณลักษณะความรับผิดชอบสังคมและความเป็นพลเมืองสาธารณะตามแนวคิดพุทธศาสตร์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Brown, S. (2004). Assessing Learners in Higher Education. London: Kogan.
Bhanthumnavin, D. & Bhanthumnavin, D. (1995). Ego Identity System in Thai Youth. Journal of Psychology. 2(1), 76-79.
Government Gazette. (2019). Educational Innovation Area Act A.D.2019, (26 April A.D.2019). Government Gazette Rule Number 136 Pages 102-120 Section Number 56 A. Retrieved October 28, 2020, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/ T_0102.PDF
Hall, S. E., & Sears, S. J. (1997). Promoting Identity Development in the Classroom: A New Role for Academic Faculty. Journal on Excellence in College Teachin,. 8(3), 3-24.
Jantanukul, W. (2018). The Wisdom Heritage: The Common Social and Cultural Identity of the ASEAN Regions of Thailand, Laos and Cambodia. Journal of MCU Peace Studies. 6(3), 953-969.
Kegan, R. K. (1982). The Evolving Self: Problem and Process in Human Development. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Kegan, R. (1994). In Over Our Heads: The Mental Demands of Modern Life. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Kroger, J. (2004). Identity and Adolescence: The Balance Between Self and Other. (3rd ed.). London: Routledge.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University Chiang Mai Campus. (2020). Philosophy/ Vision/Mission/Strategy of Mahachulalongkornrajavidyalaya University Chiang Mai Campus. Retrieved October 15, 2020, from https://cm.mcu.ac.th/about_ vision.php
Mahamakut Buddhist University Lanna Campus. (2020). Mission of Mahamakut Buddhist University Lanna Campus. Retrieved October 15, 2020, from http://lanna.mbu.ac.th/ %e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88-%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0% b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a1/
Mangkhang, C. (2017). Ideology: Social Studies Curriculum for All. Bangkok: Chulalongkorn University.
Office of Nation Education Standards and Quality Assessment. (2019). Quality Assessment Manual Outside the Fourth Round of Tertiary for Educational Institutes (Updated May 2019). Bangkok: Mission to Assess and Certify Higher Education Institutions.
Office of the Education Council. (2017). National Education Plan A.D.2017-2036. (2nd ed.). Bangkok: Office of the Education Council.
Rich, Y., & Schachter, P. E. (2012). High School Identity Climate and Student Identity Development. Contemporary Educational Psychology, 37(3), 218-228.
Sri-iam, S. (2011). Student Identity Development in Higher Education Institutions. (Doctoral Dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University.
Sripraschayanon, S., Phra Maha Phanuwat Pathipanamethi, & Upasod, A. (2019). The Process of Creating Student Model According to Student’s Characteristics in University. Journal of Buddhist Studies. 10(2), 346-360.
Torres, V., Jones, R. S., & Renn, A. K. (2009). Identity Development Theories in Student Affairs: Origins, Current Status, and New Approaches. Journal of College Student Development, 50(6), 577-596.
Wannapaisan, C. (2017). Research Methodology for Social Studies: Principle and Application. Chiang Mai. Krongchang Printing Company Limited.