การพัฒนาโมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะวิจัยในชั้นเรียนทางการศึกษาพิเศษ สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Main Article Content

รัชดาพรรณ อินทรสุขสันติ
อัญชลี สารรัตนะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิจัยในชั้นเรียนทางการศึกษาพิเศษ สำหรับนักศึกษาครู ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการใช้โมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน (RBL) สำหรับนักศึกษาครู มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนาโมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิจัยในชั้นเรียนทางการศึกษาพิเศษ สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อยกร่างโมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน และการทดลองใช้ (Try out ) ระยะที่ 2 การเปรียบเทียบผลการใช้โมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน (RBL) เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มทดลอง ใช้ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ แล้วนำมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ระหว่างกลุ่ม ด้วยสถิติ Mann Whitney-U test และภายในกลุ่ม ด้วยสถิติ The Wilcoxon’s Match- Pairs Signed Ranks Test


ผลการวิจัยในระยะที่ 1 พบว่า ผลการหาประสิทธิภาพของโมดูลระหว่างเรียน E1 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 83.38 และคะแนนแบบทดสอบหลังเรียน E2 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.66 สรุปได้ว่า ชุดการสอนมีประสิทธิภาพ 83.38/80.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยใน ระยะที่ 2 พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์คะแนนก่อนและหลังของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จากโมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน (RBL) มีผลคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นั่น คือ โมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน (RBL) มีประสิทธิผลต่อการเรียนรู้ด้านวิจัยในชั้นเรียนทางการศึกษาพิเศษ สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amonwit, N. (2014). Education Quality Crisis Nation at Risk. Bangkok: V.T.C. Communication.

Chalamvong, Y. (2017). Challenges of Thai Workers in the Digital Age. National Institute for Thailand Development Research. Retrieved May 3, 2017, from http://tdri.or.th/2015/01/thailaborinthedigitalage>

Kannika, P. (2010). A Comparison of the Learning Achievement of European Geography. Before and after Studying for Mathayom Suksa 3 Students, University Demonstration School Rajabhat Suan Sunandha Using a Skill Training Exercise. (Master’s Thesis). Suan Sunandha Rajabhat University. Bangkok.

Mariam, N. (2015). Educational Research Methodology. (9th ed.). Nakhon Pathom: Research and Development Center Education Faculty of Education Silpakorn University.

Office of the National Education Commission. (1999). National Education Act B.E. 1999. Bangkok: Office of the Prime Minister.

Office of the National Education Commission. (1999). National Education Plan 2002-2016. Bangkok: Office of the Prime Minister.

Piyawan, P. (2018). Research Competencies and Variables Relevant to the Research Accomplishments: A Case Study of Researchers at a National Research University. Journal of Kasem Bundit Journal, 19(1), 73-88.

Tissana, K. (2013). Teaching Science. (8th ed.). Bangkok: Dansuttha.

Wasan, T. (2012). Evaluation of the Curriculum from Theory to Practice. Retrieved July 19, 2020, from http://www.doed.edu.ku.ac.th/article/eva_curr