กระบวนการพัฒนาเพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ แสงอรุณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และ 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาเพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการการศึกษาเอกสาร ศึกษาภาคสนาม โดยการร่วมกิจกรรมทางศาสนาพร้อมกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 คน ณ วัดป่าชมภูพาน จังหวัดสกลนคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยสำคัญของการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาของนักเรียน มี 3 ประการ คือ การได้ร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อน การได้ร่วมกิจกรรมที่แปลกใหม่ และ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2) กระบวนการพัฒนา 7 ประการ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ กระบวนการพัฒนารูปแบบกิจกรรม โดยเรียนรู้และพัฒนาสมาธิจากธรรมชาติของวัดป่า กระบวนการพัฒนาของพระสงฆ์ มีการยกตัวอย่างคำสอนที่เข้าถึงง่าย ชี้ให้เห็นประโยชน์ของหลักธรรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที กระบวนการพัฒนาของครอบครัว ต้องไว้วางใจและเคารพในการตัดสินใจของนักเรียน สนับสนุนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ของนักเรียน กระบวนการพัฒนาของชุมชน เปิดรับ เข้าใจความแตกต่าง และไว้วางใจให้โอกาสนักเรียนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน กระบวนการพัฒนาของสถานศึกษา สร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ตามความสนใจของนักเรียน สนับสนุนนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง กระบวนการพัฒนาพฤติกรรมภายนอกของนักเรียน โดยปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เรียนรู้อยู่กับสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็น กระบวนการพัฒนาความรู้สึกภายในของนักเรียน ผ่านการพัฒนาสติและปัญญาเห็นคุณค่าของสมาธิ กระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการที่มีความสัมพันธ์ต่อกันในลักษณะนิเวศการเรียนรู้ มุ่งสู่หลักไตรสิกขาในทางพระพุทธศาสนา คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา ซึ่งจะทำให้นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขตามเป้าหมายการศึกษาไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Beebe, B. et al. (2008). “Six-Week Postpartum Maternal Depression Symptoms and 4-Month Mother-Infant Self and Interactive Contingency”, Infant Mental Health Journal, 29(5), 442-471.

Department of Children and Youth. (2017). National Child and Youth Development Promotion Act B.E. 2550 (2007) and Amended (No. 2) B.E. 2560 (2017). Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security.

Department of Religious Affairs. (2018). Religion in Thailand.Bangkok: Printing House Agricultural Cooperatives of Thailand Ltd.

Phramaha Chakkapol Siritharo. (2020). “Buddhism Propagation in Thailand 4.0”, Journal of Yanasangvorn Research Institute, 11(1), 80-90.

Phra Medhi Vajirodom. (2017). New Breed of Thai Children and Risk Behaviors. Retrieved November 11, 2020, from https://www.youtube.com/watch?v=YG4KnHWfa-Q&ab_ channel=namo125.

Pongsanit, K. (1998). Community Participation in Quality of Life Development. (Master’s Thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Steinberg L. (1999). Adolescence. Boston: McGraw-Hill.

Surachatri, S. (2015). The Religious Answer of a New Generation of Children. Retrieved November 11, 2020, from https://onab.go.th/th/content/category/detail/id/57/iid/2471.

Tripathi, S. (2009). The Cost of Life for Thai Children and Youth. Bangkok: October Printing.

Vongvanij, A. (2018). The Developmental Approach to Increase Thai Youth Potential Through Buddhist Principles in the Era of Thailand 4.0. (Research Report). Bangkok: Thailand National Defense College.

Walker, Leo R. (1951). Evaluating the Curriculum of Logan Secondary Schools in Terms of Meeting the Imperative Needs of Youth. (Master’s Thesis). Utah State University. U.S. State.