กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการวัดในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

พระครูนิปุณพัฒนวงศ์
ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์
สมภพ เจิมขุนทด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการวัดในการสร้างชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการวัดในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ในจังหวัดนครสวรรค์ และ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการวัดในการสร้างชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสำรวจแก่เจ้าอาวาสวัด ไวยาวัจกรวัด กรรมการวัด ผู้นำชุมชนทั้งหมดจำนวน 348 รูป/คนวิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์จำนวน 10 รูป/คน การสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 15 รูป/คน และประเมินและตรวจสอบกลยุทธ์ นำเสนอผลวิจัยเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาการบริหารจัดการวัดในการสร้างชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ขาดการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ขาดการวาง ขาดความชำนาญเฉพาะด้าน ขาดวิสัยทัศน์ ขาดกระบวนการกำกับติดตามต่อพันธกิจของคณะสงฆ์ทั้ง 6 ด้าน ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับ นอกจากนี้ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการนำ และด้านการควบคุม ยังไม่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการบริหารจัดการวัดในการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งในจัดหวัดนครสวรรค์ พบว่า เจ้าอาวาสมีทักษะ ประสบการณ์ และวุฒิการศึกษา ที่น่าเชื่อถือศรัทธา มีการสร้างวิสัยทัศน์ ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรบุคลากรภายในวัดให้ได้รับการศึกษาที่ดี แต่ยังขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย ขาดการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ 2. การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการวัดในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า มีกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการวัด ได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแผนพัฒนาวัด 2) ความร่วมมือภาคีเครือข่ายให้เกิดผลสัมฤทธิ์ผล 3) การพัฒนาระบบธรรมาภิบาล และ4) การพัฒนากระบวนการควบคุม กำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการวัดให้มีประสิทธิภาพและให้ได้มาตรฐาน และ 3. การประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการวัดในการสร้างชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ ตัวชี้วัด และมาตรการ มีความสอดคล้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bartol, K. M., & Martin D. C. (1991). Management. New York: McGraw-Hill.

Boonchaiming, J. (2017). The Study of Strategies for Temple Development in Construction and Renovation in Phayao. Dhammathas Academic Journal, 16(1), 56.

Chatreewisit, R. et al. (2010). Strategic Management: Strategic Management. (2nd edition) Bangkok: Tangsap.

Fankheiyw, A. (2014). Strategies for Managing Higher Education in the Area Thai-Myanmar Border. Journal of Education Naresuan University, 7(2), 116.

Gilbert, A. D. (1999). Human Resource Management. Australia: Melbourne of University.

Nakhon Sawan Provincial Office of Buddhism. (2019). Number of Temples in the Sangha Administrative Region 4. Retrieved January, 30, 2019, from http://nsn.onab.go.th.com

Phakaphatwiwat, S. (2010). Strategic Management: Scripture to Excellence in Administration Management. Bangkok: Amarin.

Phra Amnuay Mokmok. (2013). Buddhist Temple Administration Strategies for the Abbots in Common Temples, the Northern Region 4. (Doctoral Dissertation). Department of Higher Education Administration. Graduate school Central University.

Phra Sripariyatmolee. (2004). Contemporary Buddhism 1. Bangkok: Mahachulalongkorn rajavidyalaya.

Phrakru Pisanketkanarak, Samakkee, P. & Jongchitsirijirakal, W. (2016). Model Development for Upgrading the Quality of Temple Management in Modern Times. Journal of Mahachulalongkornrajavidyalaya University Social Sciences Periscope, 5(3), 81.

Phrakru Praphatvachirakit. (2013). Strong Community Development Strategies According to the Buddhist Principle in Kamphaeng Phet Province. (Doctoral Dissertation). Administration and Development. Graduate School Kamphaeng Phet Rajabhat University.

Phrakru Wisutthanantakhun. (2014). Temple Management for the Stability of Buddhism. (Doctoral Dissertation). Graduate School. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.