รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์เชิงสังคม: มิติใหม่ของการเรียนการสอน

Main Article Content

กฤตพล วังภูสิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์เชิงสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถการสร้างสรรค์งานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา และ 2) หาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์เชิงสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถการสร้างสรรค์งานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดย 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนของนักศึกษาเกี่ยวกับภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์เชิงสังคมก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2.2) ศึกษาพัฒนาการในการสร้างสรรค์งานของนักศึกษาที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์เชิงสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถการสร้างสรรค์งานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ประเภทของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) แบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) มีประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา “ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย” จํานวน 30 คน ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ต่อมาสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน คู่มือประกอบ แผนการจัดการเรียนการสอน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน แบบประเมินความสามารถในงานสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชื่อรูปแบบคือ "5A Mode!" มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม การวัดและประเมินผล 2) หลังเรียนตามรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) มีพัฒนาการในงานสร้างสรรค์สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anantaworasakul, A. (2003). Regional Studies: Thai Culture. Bangkok: Pajera Publishing.

AnchaleeNukul, S. (2005). Thai Word Wystem. Bangkok: Chulalongkorn Printing House University.

AppakitSilpasarn, Phraya. (2005). Thai Language Principles. 13th edition. Bangkok: Thai Wattana Panich.

Beers, S.Z. (2011). Teaching 21st Century Skills: An ASCD Action Tool. Virginia: ASCD.

Campbell, D. T. & Stanley, J. C. (1963). Experimental and Quasi-Experimental Designs for Research. Chicago: Rand McNally College.

Ellison, M.B. (1995). Creative Problem Solving Through Design Education: An Experimental Study. Canada: Mount Saint Vincent University.

Joyce, B., Weil, M. & Calhoun, E. (1996). Model of Teaching. 5th ed. London: Ally n and Bacon.

Khaemmanee, T. (2010). Teaching Science: Knowledge for Organizing a Learning Process That Has Performance. 12th edition. Bangkok: Sutthakat Checkpoint.

Linton, Ralph. (1969). The Tree of Culture. New York: Alfred A Knopf.

Nilphan, M. (2012). Educational Research Methods. Issue 6. Nakhon Pathom: Research and Development Center Education Faculty of Education Silpakorn University.

Prasithrathsint, A. (2001). Social Linguistics. Bangkok: Printing House Chulalongkorn University.

Royal Academy. (2003). Dictionary of the Royal Institute of Thailand 1999, Bangkok: Nanmee Books Publications.

Treffinger D. J. & Isaksen, S. G. (2008). “A New Renaissance? Preparing Productive Thinkers for Tomorrow’s World”. Creative Learning Today, 15(4), 1.

Tylor, Edward B. (1981). The Primitive Culture: Researches into the Development of Mythology Philosophy Religion, Language, Art and Custom. London: Murray.