แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พระเทอดพิทักษ์ จันทร์โลหิต
เฉลิมชัย ปัญญาดี
สมคิด แก้วทิพย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบการประเมินคุณภาพในการจัดการศึกษา
ของสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม กรณีศึกษา โรงเรียนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่
2) ศึกษาประสิทธิผลของการจัดการศึกษาของสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม ใช้หลักการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรและกลุ่มเป้าหมายคือผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาโรงเรียน
ในพื้นที่สูงจำนวน 22 ท่าน โดยวิธีการประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึกการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา แบบพรรณนาความตามประเด็นข้อค้นพบ


            ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาองค์ประกอบการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาพื้นที่สูง
ที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ชุมชนและชาติพันธุ์  มีหลักสูตรการเรียนการสอนและประเมินผลที่สอดคล้องกับบริบท เพราะถือว่าเป็นกลุ่มเฉพาะ สามารถปรับใช้หลักสูตรแกนกลางได้ สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการตนเองมีคณะกรรมการสถานศึกษาฯ ชุมชน มีส่วนร่วมในการบริหาร มีเกณฑ์เฉพาะที่สอดคล้องกับสภาพบริบท และพัฒนาผู้เรียนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์
2) ประสิทธิผลของการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม อยู่ในระดับที่แตกต่างกันโดยเรียงจากระดับมากไปน้อยคือ มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน ทักษะชีวิต เจตคติที่ดีต่องานอาชีพตามบริบท รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาชุมชนสามารถสร้างนวัตกรรม มีผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ สามารถคิดคำนวณได้ตามวุฒิภาวะของผู้เรียน สามารถนำเอา   ภาษาถิ่นไปสื่อสารเพื่อพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้สามารถเทคโนโลยีสารสนเทศ และแก้ปัญหาได้ตามศักยภาพผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
จันทร์โลหิต พ., ปัญญาดี เ., & แก้วทิพย์ ส. (2022). แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 817–829. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/252016
บท
บทความวิจัย

References

Boontos, M. (2011). Management model development For Internal Quality Assurance That Affects School Quality Under Office Basic Education Commission. (Doctoral Dissertation). Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani
Chansathien, S. (2011). Developing Internal Quality Assurance Quality of Learners as Standard Basic Education of the Ministry of Education: Case Study of Ban HuayPun School Surin Educational Service Area Office, Region 3. (Master’s Thesis). Rajabhat MahaSarakham University. MahaSarakham.
Klanurak, S. (2016). The Operational for Educational Quality Assurance in Medium-sized School of Koh Kaew Group Rayong Primary Educational Service Area Office 1. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.
Lekawattana, T. (2007). The Development of an Internal Quality Assurance Model for Basic Educational Schools Using a Benchmarking Approach. (Research Report). Phitsanulok: Naresuan University.
Nitaram, A. (2010). Study the Problem and Approach Solve Operational Problems According to Basic Education Standards Administration and Education of The School Under the Nakhon Ratchasima Educational Service Area Office, District 1-7. (Master’s Thesis). Nakhon Ratchasima Rajabhat University. Nakhon Ratchasima.
Songpan, W. (2015). The Development of School Administrative Model for chieving Internal Quality Assurance of Secondary Schools in South Andaman Area. (Doctoral Dissertation). Hatyai University. Songkhla.
The Secretariat of the House of Representatives. (2017). The Constitution of the Kingdom of Thailand 2017: Enforcement education. Bangkok: Academic Office.
Yodmuldee, C. (2007). Alternative: Expectations and Management Basic Educational Administration Quality in Accordance with Student Parents Attitudes in Chiangrai Educational Services Area (Region 1). (Independent study bachelor’s degree). Chiang Rai Rajabhat University. Chiang Rai.