นวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล ของนักเรียนประถมศึกษาในสังคมวิถีใหม่

Main Article Content

วราภรณ์ ชนะจันทร์ตา
ชรินทร์ มั่งคั่ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษานวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาวิถีใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ 2.พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และประเมินสิทธิภาพการเรียนรู้สังคมศึกษาวิถีใหม่ เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล บทความวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีสวนรวม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นตัวอย่างการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแนวทางการเรียนรู้สังคมศึกษา 2) กลุ่มประเมินความเหมาะสมแนวทางการเรียนรู้ ได้แก่ คณาจารย์และครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง 3) กลุ่มทดลองใช้แนวทางการเรียนรู้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 ห้อง 178 คน โดยใช้วิธีการเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1. แบบแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 2. แนวทางการจัดการเรียนรู้ 3. แบบประเมินความเหมาะสมของแนวทางจัดการเรียนรู้นวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาฐานโครงงานดิจิทัล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย วิธีหาดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญเป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีใหม่ ควรจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานการเรียนรู้โดยการรวมเอาการเรียนในชั้นเรียนกับการเรียนจากเทคโนโลยีต่างๆ มารวมเข้าด้วยกัน โดยการรู้จักใช้การเรียนแล้วการใช้ สื่อในทางที่ถูกต้องโดยเกิดการ เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล ซึ่งจะต้องมี 3 องค์ประกอบได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนวิถีใหม่ (2) สื่อการเรียนสอนวิถีใหม่ (3)การประเมิน 2. พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และประเมินประสิทธิภาพการเรียนรู้สังคมศึกษาวิถีใหม่ พัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลวิชาสังคมศึกษาของนักเรียน พบว่าแผนการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่เป็นแผนการจัดการ เรียนรู้ ประกอบด้วย(1)เนื้อหาการสอน (2) เนื้อหาการสอนสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ (3) เหมาะสมกับผู้เรียน ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า การจัดการเรียนช่วยส่งเสริมความเป็น พลเมืองดิจิทัลของนักเรียน นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นด้วยการจัดการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้ใหม่ในการเรียนที่ทันสมัยและใช้สื่อในทางที่ถูกต้องในพื้นฐานความเป็นพลเมืองดิจิทัล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Barlow, R. (2010). An Experimental with Learning Contracts. The Journal of High Education. Bangkok: Chulalongkorn University.

Buosonte, R. (2009). Research and Development of Education System. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Chusaengnil, C. (2019). Using Technology Wisely. Nakhon Si Thammarat: Mahachulalongkorn- rajavidya University.

Graham, A., & Ure A. (2007). Technology-Based Approach. Jacksonville: University of North Florida University.

Luang Pirom, N. (2014). Innovation Management and the Development of Innovative Capability Model of the Researchers. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Mangkhang, C. (2018). Knowledge of Curriculum and Teaching in Social Studies. Bangkok: Chulalongkorn University.

Tanthong, S. (2020). The Model of Integration of Learning Activities Using Digital Technology to Create Innovations that Enhance the 21st Century Learning Skills of Students in the Faculty of Education. Rajabhat Maha Sarakham University.

Thongkeaw, T. (2020). Design-Based New Normal. Bangkok: Khurusaha.

Wannapaisan, C. (2019). Social Studies Research Tools. Chiang Mai: Research Management Center Chiang Mai University.

Wongyai, T., and Phat tha Phl, T. (2019). Development of the Growth Mindset of the Learners in the 5G. Bangkok: Srinakharinwirot University.