ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 5.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาในภาคกลางและภาคตะวันออก

Main Article Content

ปรีชา ออกกิจวัตร
นภาภรณ์ ยอดสิน
พิชญาภา ยืนยาว
ธีรวุธ ธาดาตันติโชค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคการศึกษา 5.0 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 5.0 และ 3) ยืนยันความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 5.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคกลางและภาคตะวันออก บทความวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน 2) ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูวิชาการ และครูนวัตกรรม จำนวน 672 และ 3) ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบตรวจสอบรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคการศึกษา 5.0 ประกอบด้วย 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ 2) นวัตกรรม 5.0 3) การสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากร 4) การคิดสร้างสรรค์ 5) การสร้างบรรยากาศแห่งการส่งเสริมองค์กรนวัตกรรม 6) การทำงานเป็นทีม 7) การติดต่อสื่อสาร 8) การพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ 9) ภาวะผู้นำ 10) การมีวิสัยทัศน์ 11) การบริหารความขัดแย้ง 12) การบริหารตามสถานการณ์ 13) การปฏิบัติงาน 14) งบประมาณ และ 15) การบริหารการเปลี่ยนแปลง


2. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคการศึกษา 5.0 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square =741, df = 28, P-value = 0.070, RMSEA = 0.024)


3. ยืนยันความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 5.0 พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความถูกต้อง และมีประโยชน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaemchoy, S. (2012). Concept of Innovation for School Management in the 21st Century. Journal of Education Naresuan University, 14(2), 117-128.

Chaengchareonkit, B. (2013). Organizational Climate Influencing Good Organizational Membership Behavior of Mahidol University’s President’s Office Staff. Nakhon Pathom: Mahidol University.

Chai-Phet, N. (2020). Innovative Leadership of Administrators of Bangkhuntiensuksa School Bangkhuntien District Bangkok Metropolitan. Bangkok: Bansomdejchaopraya Rajabhat University.

Chongvisal R. (2011). Human Relations: Human Behavior in Organizations. (3rd ed.). Bangkok: Kasetsart University.

Chuemuang, A. (2018). Organizational Culture of School under the Jurisdiction of the Office of Primary Chaiyaphum Educational Service Area 1. Chaiyaphum: Chaiyaphum Rajabhat University.

Grataynoi, T. (2012). Leadership of Social Sciences Students, Chiang Mai University. Chiang Mai: Chiang Mai University.

Joosanit, S. (2017). Transformation Leadership of School Administrators under Pathum Thani Primary Educational Service. Pathum Thani: Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage.

Pathai, N. (2013). Factors of Transformational Leadership of School Administrator under the Department of Education Bangkok Metropolitan Administration. Bangkok: King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

Office of the National Education Commission. (2010). National Education Act B.E. 2542 (1999) as amended (No. 2) B.E. 2545 (2002) and (No. 3) B.E. 2553 (2010). Bangkok: Prigwhan Graphics.

Praphanphat, J. (2017). A Study of Innovative Leadership of School Administrators in the Opinions of the Teachers under the Supervision of Pathumthnai Primary Educational Service Area Office. Pathum Thani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Tonak, K. (2013). A Factor Analysis of Innovation Leadership for Basic Educational Administrators. Phitsanulok: Naresuan University. of Technology Ladkrabang.