การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทวิชาศิลปกรรม ตามแนวคิดของจินตนวัตกรรม

Main Article Content

เดโชชัย ลิ้มทอง
เยาวภา บัวเวช
พิชญาภา ยืนยาว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและประเมินความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทวิชาศิลปกรรมตามแนวคิดของจินตนวัตกรรม 2) สร้างหลักการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทวิชาศิลปกรรม ตามแนวคิดของจินตนวัตกรรม บทความวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญการบริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษา  ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงด้านเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยควอไทล์ และระยะที่ 3 เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ นักวิชาการด้านบริหารการศึกษา และผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษา ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบบันทึกการประชุม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1. การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทวิชาศิลปกรรม ให้เกิดจินตนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) ด้านวัตกรรมทางการศึกษามุ่งเน้นพัฒนาการบริหารสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพการบริหารสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษา 2) ด้านการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทวิชาศิลปกรรมที่มุ่งเน้นพัฒนาการบริหารสถานศึกษาให้มีเทคโนโลยีการศึกษาที่มีคุณภาพ 3) ด้านหลักการสุนทรียะ ทัศนศิลป์ และจินตนาการ มาบูรณาการเพื่อพัฒนาการบริหารสถานศึกษา


 2. การสร้างหลักการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาประเภทวิชาศิลปกรรม ตามแนวคิดของจินตนวัตกรรม มีแนวทางในการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประกอบด้วยการบริหาร 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านบุคลากร พบว่ามี 6 องค์ประกอบ 2) ด้านหลักสูตรและกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ พบว่ามี 4 องค์ประกอบ และ 3) ด้านการวัดผล พบว่ามี 6 องค์ประกอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bunhor, C. (2017). Creative Thinking. Retrieved October 22, 2017, form https://goo.gl/Tzwehq.htm.

Choc-noi, P. (2017). The Context Was Changed by the Imagination. (Bachelor of Fine Arts). Silpakron University. Bangkok.

Hubbard, R. S., & Ernst, K. (1996). New Entries: Learning by Writing and Drawing. HEINEMANN: Portsmouth, NH.

Junkrapor, M., & cheerwathanasuk, K. (2016). Creating an Innovative Organization, Bring About to Organization Excellence. Executive Journal, 39(2), 52-66.

Khayati, A., Selim, M. & Chan, S. (2019). The Status of Innovation in Saudi Universities. Cogent Education, 6(1), 1-12.

Kongsamran, P. (2011). The Creation of Dance from the Imagination of the Visually Impaired People. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Meesomsarn, P. (2018). Academic Management Strategies of Vocational Institutes Based on the Concept of Students’ Digital Literacy Development. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Office of Vocational Education Commission. (2008). Vocational Education Act, 2008. Retrieved May 24, 2020, form http://www.nykpeo.moe.go.th/images/Laws/ngpj2682hza.pdf

Office of Vocational Education Commission. (2016). Vocational Education Act, 2016. Retrieved July 15, 2020, form http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A1130/%A1130-20-2551-a0001.htm

Office of the Education Council. (2017). Education Plan 2017-2036. (1st ed.). Bangkok: Prigwhan graphic Company Limited.

Prajan, A. (2018). The Basic Education School Management for Developing Teachers’ Innovative Thinking Skills. Educational management and Innovation Journal, 1(2), 53-70.

Prasurtsin et al. (2017). A Studying Guideline of the Educational Innovation Management Used for Improving Teacher’s Teaching and Research. The Journal of Library and Information Science, 10(2), 78-89.

Srisuk, S. (2008). School Innovation Development Guide, One School, One Innovation Project. Songkhla: Songkhla Primary Educational Service Area Office 2.