การพัฒนารูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้หมวดวิชาเฉพาะของหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี ที่จัดการศึกษาแบบทวิภาคี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนตามความต้องการของงานอาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการที่คาดหวังคุณลักษณะผู้เรียนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี และ 2) พัฒนาและประเมินผลรูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้หมวดวิชาเฉพาะของหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีที่จัดการศึกษาแบบทวิภาคี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนตามความต้องการของงานอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และครูฝึกในสถานประกอบการ จำนวน 145 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสม เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการที่คาดหวังคุณลักษณะทุกด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญ พบว่า การวิเคราะห์แก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนางาน มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด PNImodified เท่ากับ 0.31 ผลการพัฒนารูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้หมวดวิชาเฉพาะของหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีที่จัดการศึกษาแบบทวิภาคี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนตามความต้องการของงานอาชีพ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการวิเคราะห์ 1.1) การวิเคราะห์หลักสูตร 1.2) การจัดทำโครงการสอน 1.3) การวิเคราะห์สมรรถนะ 2) ขั้นการออกแบบ 2.1) การออกแบบการสอนวิชาทฤษฎี 2.2) การออกแบบการสอนวิชาปฏิบัติ 3) ขั้นการพัฒนา 3.1) แผนการจัดการเรียนรู้ทฤษฎี 3.2) แผนการจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ
4) ขั้นการนำไปใช้ 4.1) การนำไปใช้สอนในสถานศึกษา 4.2) การนำไปใช้สอนในสถานประกอบการ และ 5) ขั้นประเมินและติดตามผล ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Charoentia T. (2013). A Development of Teaching Model for Mathematics Strands to Promoting Problems Solving Competencies by Using Sternberg’s Theory of Successful Intelligence. (Doctoral Dissertation). Burapha University. Chonburi.
Commission on Education and Sports National Legislative Assembly. (2016). Report on the Study of Guideline for the Management of Vocational Education in the Dual System. Office of the Commissioner, Office of the Secretariat of the Senate Perform Duties of the Secretariat National Legislative Assembly.
Education Council Secretariat. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Prigwhan Graphic Co.Ltd.
Government Gazette. (2008). Vocational Education Act, B.E. 2008. Volume 125, Part 43 Kor.
I D Franestian et al. (2020). “Analysis Problem Solving Skills of Student in Junior High School” in Journal of Physics:Conference Series.The 5th International Seminar on Science Education. IOP Publishing http://doi:10.1088/1742-6596/1440/1/012089.
Khammmanee, T. (2008). Teaching Style: A Wide Choice. (5th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Publishing House.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kruse, K. (2020) Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model. Retrieved April 2, 2020, from: http://www.e-learningguru.com/articles/art2_1.html
Lertpunya, A. (2016). The Curriculum Development of Teacher Training in the Vocational Instruction to Develop for Work Problem Solving Thinking Skills. (Doctoral Dissertation). King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Bangkok.
Moraray T. (2019). The Integrated Training Course for Coaching Competency Development of Trainers in Workplaces. (Doctoral Dissertation). King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Bangkok.
Murawski L. (2014). Critical Thinking in the Classroom…and Beyond. Journal of Learning in Higher Education Spring, 10(1), 25-30.
Pirom, Y. (2015). Development of Training Program on Learning and Teaching Management Model of Vocational Subjects in Enterprises Based on Collaborative Method for Private Vocational Education Institutes. (Doctoral Dissertation). King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Bangkok.
Rittidej, R. (2009). Development of Management Model for Dual Vocational Education System through Provincial Networking Manpower Centre. (Doctoral Dissertation). King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Bangkok.
Stirayakorn, P. (2015). Curriculum Development Strategy in Vocational and Technical Education and Training. Bangkok: Danex Inter Corporation.
Thianboocha, A. (2009). The Development of Key Competencies in Preparing Employees for Workplaces. (Doctoral Dissertation). King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Bangkok.
Wongwanich, S. (2005). Needs Assessment Research. Bangkok: Chulalongkorn University Press.