กลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

นฤมล ทัดสา
วาโร เพ็งสวัสดิ์
พรเทพ เสถียรนพเก้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียน  2) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียน และ 3) เพื่อพัฒนาคู่มือการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 542 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบบันทึกการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมิน ความเหมะสมของคู่มือ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 4 กลยุทธ์ 16 กิจกรรม ดังนี้ 1) กลยุทธ์การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม คือ 1.1) การจัดสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ 1.2) การจัดสภาพแวดล้อมด้านวิชาการ 1.3) การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม 1.4)  การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตภาพ 1.5) การจัดสภาพแวดล้อมด้านการบริหารจัดการ 2) กลยุทธ์การส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 2.1) การส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานในการเรียนรู้เชิงรุก 2.2) การใช้กลวิธีในการเรียนรู้เชิงรุก 2.3) การใช้ทรัพยากรในการสอน 3) กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำสำหรับครู ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ 3.1) การส่งเสริมความเป็นมืออาชีพ 3.2)  การส่งเสริมการมีบุคลิกภาพที่ดี 3.3) การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ 3.4) การส่งเสริมการเป็นผู้นำเปลี่ยนแปลง 4) กลยุทธ์การมีส่วนร่วมในการจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ 4.1) การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 4.2) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 4.3) การมีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม 4.4) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสภาพแวดล้อม 2) กลยุทธ์มีความเหมาะสมในการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) คู่มือการใช้กลยุทธ์มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Adelina, C. (2008). Westbrook-Spaniel, B.A., M.S.W. How Teachers Learn, Select, and Implement “Effective” Classroom Management. New Mexico: New Mexico State University Las Cruces.

Boonpirom, S. (2014). Classroom Management. Bangkok: Triple Education.

Chungphiwat, A. (2018). Classroom Management Strategy of Elementary Teacher in the Next Decade. Phuket Rajabhat University Academic Journal, 14(1), 319-349.

Ministry of Education. (2009). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Khurusapha Lat Phrao.

Ministry of Education. (2010). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). (3rd ed.). Bangkok: Agricultural Cooperative Printing Demonstrations of Thai.

Na Ayudhaya, W. D. (2001). Development of Teaching and Learning in Higher Education. Bangkok: Chulalongkorn University.

Naree, T. (2018). A Model for Developing Teacher Leadership in Practicing the Principles of Sufficiency Economy Philosophy in Secondary Schools under the Regional Education Office No. 11. (Doctoral Dissertation). Sakon Nakhon Rajabhat University. Sakon Nakhon.

Office of the Commission of Government Teachers and Educational Personnel. (2006). Law and B.C. Circular. Bangkok: Printing House, Shipping Organization.

Office of the Education Council. (2009). Assessment of the Participation Status of Buddhist Institutions in Promoting Educational Management. Bangkok: Plearn Studio Company.co.th.

Office of the Education Council. (2013). Teacher Policy. Bangkok: Office of the Education Council.

Office of the National Economics and Social Development Council. (2012). National Economic and Social Development Plan, Vol. 11 (2012 -2016). Bangkok: Prime Minister's Office.

Tangkunanun, P. (2014). Classroom and Learning Resource Management. (3rd ed.). Bangkok: Faculty of Industrial Education and Technology, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang.

Thatthong, K. (2009). Classroom Management: Happiness Classroom. Bangkok: Phetkasem Printing.

Wisetrinthong, K. (2012). The Development of Classroom Management System for the Educational Extension Schools. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Wongtakee, W. (2020). The Development of Risk-Management Indicators in Educational Opportunity Expansion Schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast Region. (Doctoral Dissertation). Sakon Nakhon Rajabhat University. Sakon Nakhon.