นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์บูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

มนัสวี ปุโปคำ
ชรินทร์ มั่งคั่ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาวิธีการการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์แบบบูรณาการในชั้นเรียนสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา 2. เพื่อเสนอนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์บูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 11 คน ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะลงกับนักเรียนที่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม โดยนำขอมูลที่ไดจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ หาคาความถี่และการหาคารอยละ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย


ผลการศึกษาพบว่า


  1. 1. วิธีการการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์แบบบูรณาการรเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายทั้งแบบสหวิทยาการและแบบพหุวิทยาการ เป็นรูปแบบทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ และความต้องการ โดยการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งทางด้านสติปัญญาทักษะและจิตใจให้ดีขึ้นและสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวันอย่างเต็มศักยภาพ

2. นวัตกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์บูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาควรมีการจัดการเรียนรู้ 3 ด้านคือ 1. ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ควรจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดกิจกรรมกลุ่มทักษะอาชีพ การใช้กรณีศึกษา การใช้คำถาม และใช้กิจกรรมอื่นๆ 2. ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ ควรใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย และใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและในท้องถิ่นใกล้โรงเรียน 3. ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรใช้ข้อสอบย่อยในการประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียน ควรใช้คำถามเพื่อดูว่านักเรียนเข้าใจในเนื้อหาที่สอนไปในชั่วโมงนั้นหรือไม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bueraheng, N. (2014). Effects of Integrated Teaching by Using Flipped Classroom, Multimedia, and Innovation in Character Education in Social Skills on Behavior and Academic Achievement in Religious History Subject of Grade Seven Students. (Master's Thesis). Graduate School Faculty of Education Prince of Songkla University. Pattani.

Department of Academic. (2006). Guidelines for Organizing Student Development Activities. Bangkok: The Teachers Council of Lat Phrao Printing House.

Frazee and Rudnitski, (1998). Integrated Teaching Methods: Theory Classroom Application and Field-Based Connections. Aldary New York. Delmar Publishers.

Khaemmanee, T. (2001). Teaching Sciences. Bangkok: Dansutha Publishing Co., Ltd.

Khaemmanee, T. et al. (2005). Teaching Styles: Various Options. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum B.E.2551. Bangkok: The Teachers Council of Lat Phrao Printing House.

Phonsaku, M. (2004). Learning Outcomes of Mathematics Subject: Problems of Addition and Subtraction, Grade 1, by Integrated Teaching Methods. (Master's Thesis). Graduate school: Chiang Mai Rajabhat University. Chiang Mai.

Tangsukkasemsan, K. (2009). Subdistrict Publishing Reviews of Local Storybooks to Instill Morals and Ethics for Underprivileged Children in Khon Kaen Province. (Master's Thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Rungruangtham, S. (1983). Teaching Strategies. Bangkok: Roongtham.

Wiwatjarernwong, Ch. (2011). The Effects of Formative Tests on Achievement of Students in ACT314. (Master's Thesis). Management Accounting in Department of Accounting, Faculty of Accounting, Sripatum University. Bangkok.