การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนอ่านภาษาอังกฤษ อย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

อังชรินทร์ ทองปาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศสอนอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบฯ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูพี่เลี้ยง 2 คน นักศึกษา 2 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 6 โรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย 60 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบบันทึกการจัดการเรียนรู้แบบพรรณนาความ แบบประเมิน และการสนทนากลุ่ม  สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และค่าทดสอบที (t-test) แบบ Dependent


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการนิเทศที่เรียกว่า “NIPIE Model” ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ 1.1) ขั้นศึกษาความต้องการจำเป็น 1.2) ขั้นศึกษาให้ความรู้ก่อนการนิเทศ 1.3) ขั้นวางแผนการนิเทศ 1.4) ขั้นดำเนินการนิเทศ และ 1.5) ขั้นประเมินผล/ติดตามผล ซึ่งรูปแบบได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คนอยู่ในระดับดีมาก และ 2) ผลจากการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบโดยการนําไปใช้ในโรงเรียน พบว่า 2.1) ครูพี่เลี้ยงมีสมรรถภาพการนิเทศการสอนอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ 2.2) นักศึกษามีสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ 2.3) ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2.4) กลวิธีการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่นักเรียนใช้มากที่สุด คือ การตั้งคำถาม การระบุข้อเท็จจริง/ข้อคิดเห็น และการอนุมาน และ 2.5) ครูพี่เลี้ยงมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศอยู่ในระดับมาก 2.6) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศอยู่ในระดับมาก และ 2.7) นักเรียนมีความเห็นด้วยกับการจัดการเรียนการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด




Article Details

How to Cite
ทองปาน อ. (2021). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนอ่านภาษาอังกฤษ อย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1268–1283. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/250951
บท
บทความวิจัย

References

Abdullah, K. (1998). Critical Reading Skills: Some Notes for Teachers. (Research Report). Singapore: National Institute of Education.

Almasi, J. F. (2003). Teaching Strategies Processes in Reading (f. b. M. Pressley Ed.). New York: The Guilford Press.

Dewey, J. (1934). Art as experience. Carbondale: Southern Illinois University Press.

Glickman, D., Stephen P., & Gordon Jovita M. (2010). Supervision and Instruction Leadership: A Developmental Approach. (8th ed.). Boston, M.A.: Allyn and Bacon.

Kruse, K. (2008). Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model. Retrieved October 15, 2020, from http://www.transformativedesigns.com/id_systems.html

Laowreandee, W. (2011). The Supervision. (9th ed.). Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Nilpan, M. (2012). Research Methodology in Education. (7th ed.) Nakhon Pathom: Educational Research and Development Center.

Nonhuaro, M. (2014). The Development of an Empowerment Evaluation Model for Enhancing the Educational Assessment Competency of In-service Teachers in Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Panich, V. (2013). The Teacher to Student, Build the Flipped Classroom. (3rd ed.) Bangkok: The Siam Commercial Foundation.

Teacher Profession Experience Training. (2015). Internship 1 and Internship Handbook. Roi Et: Roi Et Rajabhat University.

Robinson, S.G. (2000). Teacher Job Satisfaction and Levels of Clinical Supervision in Elementary School. (Doctoral Dissertation). University of Southern Mississippi.

Rumelhart, D. E. (1981). Schemata: The Building Blocks of Cognition, Comprehension and Teaching Research Review. New York: International Reading Association.

Satjapiboon, S. (2017). The Development of Teacher Professional Experience Supervision Model to Enhance Instructional Competency for Pre-Service Teacher. Journal of Educational Research, Faculty of Education Srinakharinwirot University, 11(2), 177-192.

Skehan, P. (1996). A Framework for the Implementation of Task-Based Instruction. Applied Linguistics, 17(1), 38-62.

Sinlarat, P. (2015). Philosophy of Creative Education and Productivity. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Wongwanich, S. (2007). Needs Assessment Research. Bangkok: Chulalongkorn University.