รูปแบบการบริหารกิจการนักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารกิจการนักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21 ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารกิจการนักศึกษา 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารกิจการนักศึกษา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายกิจการนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา รวม 30 คน เป็นผู้ให้ข้อมูล ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัย พบว่า
1. แนวทางในการบริหารกิจการนักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21 ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สถาบันควรให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบที่ 1 คือ ปัจจัยในการบริหารกิจการนักศึกษา ทั้ง 8 ด้าน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการบริหารกิจการนักศึกษา ประกอบด้วย ด้านนโยบาย ด้านผู้บริหาร ด้านผู้ปฏิบัติหน้าที่งานกิจการนักศึกษาในแต่ละคณะ ด้านผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายงานกิจการนักศึกษา ด้านศิษย์เก่า ด้านสถานประกอบการ ด้านสโมสรนักศึกษา และด้านการจัดงบประมาณ ให้ปัจจัยทั้ง 8ด้าน ได้มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการนักศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ตามขั้นตอนของกระบวนการในองค์ประกอบที่ 2 ได้แก่ กระบวนการบริหารกิจการนักศึกษา เริ่มตั้งแต่การวางแผนงานกิจการนักศึกษา (Planning) การกำหนดขอบข่ายงานกิจการนักศึกษา (Organizing) การลงมือปฏิบัติงานกิจการนักศึกษา (Doing) การกำกับติดตาม (Checking) และการปรับปรุงงาน (Acting)
2. รูปแบบการบริหารกิจการนักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21 ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เหมาะสม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่1 ปัจจัยนำเข้า คือปัจจัยในการบริหารกิจการนักศึกษา องค์ประกอบที่2 กระบวนการ คือ กระบวนการบริหารกิจการนักศึกษา องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต คือ ทักษะในศตวรรษที่ 21
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารกิจการนักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่า รูปแบบฯมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.55, S.D. = 0.56)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Khajohnsil, S. (2007). Principle of Student Affairs Management. Bangkok: Kasetsart University.
Maitaowthong, T. (2014). 21st Century Information Literacy Skills. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Manoosawate, P. (2011). A Model for Effective Student Affairs Administration of Private Universities in Thailand. (Doctoral Dissertation). Eastern Asia University, Pathumthani.
Meekham, S., & Arrukpochychong, W. (2014). Guidelines for Student Affairs Development, Faculty of Social Sciences and Human Science. Bangkok: National Research Council of Thailand.
Panich, V. (2013). The Learning Creating to 21st Century. Bangkok: Sorchareonkarnpim press.
Saardnuk, A. (2014). Skill from Learning Management in 21st Century, Faculty of Management Science, Silpakorn University Case Study Technology and Innovation Utilization Subject. Retrieved February 23, 2020, from https://www.researchgate.net/ publication/277143088_thaksacakkarcadkarkarreiynrunistwrrsthi_21_khnawithyakarcadkar_mhawithyalaysilpakr_krnisuksaraywichakarchiprayochncakthekhnoloyilaeanwatkrrm
Songsri, O., Prawatrungroung, P., & Prajanband, P. (2014). A Model for Participatory Administration of Student Affairs in the Secondary School Under the Secondary Education Service Area. Chandrakasem Rajabhat University Journal, (20)38, 143-151.
Srinon, M. (2015). An Analysis of Thai 21st Century Education Administration with the System Theory of Education Administration. MBU Education Journal, 3(2). 51-57.
Thanormchayathawat, B., Vanitsuppavong, P., Niemted, W., & Portjanatanti, N. (2016). 21st Century Skills: A Challenge for Student Development. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(2), 208-222.
The National Economic and Social Development Board. (2017). The National Economic and Social Development Plan Vol.12 (2018-2021). Retrieved December 3, 2019, from https://www.nesdb.go.th/download/plan12/12.pdf.
Weerungkorn, J. (2014). Student Development Directions to Enhance Characteristics of Thai Graduates to the International World. Bangkok: Kasetsart University Press.