ยุทธศาสตร์การบริหารโครงการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารโครงการในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การบริหารโครงการ
ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อทดลองใช้ยุทธศาสตร์การบริหารโครงการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อประเมินยุทธศาสตร์การบริหารโครงการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการวิจัย 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารโครงการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 296 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย และสถานศึกษากรณีที่ให้เป็นต้นแบบการบริหารโครงการในสถานศึกษาจำนวน 3 แห่ง ระยะที่ 2 การสร้างยุทธศาสตร์การบริหารโครงการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมายคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 3 การทดลองยุทธศาสตร์การบริหารโครงการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 21 คน จากโรงเรียนไพศาลพิทยาคม ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 4 การประเมินยุทธศาสตร์การบริหารโครงการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่และผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ จำนวน 23 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินยุทธศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า เมื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน การสร้างยุทธศาสตร์การบริหารโครงการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมพบว่าสภาพการปฏิบัติในปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ยุทธศาสตร์การบริหารโครงการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) เป้าประสงค์
4) ยุทธศาสตร์ และ 5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ ภาพรวมหลังการทดลองใช้ยุทธศาสตร์การบริหารโครงการในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบยุทธศาสตร์พบว่ามีความเหมาะสมความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในภาพรวมระดับมากที่สุดซึ่งสามารถนำยุทธศาสตร์ไปใช้เพื่อพัฒนาโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาได้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bunlusin, T. (2013). Model of Community Participation in Educational Resource Mobilization. To Develop the Effectiveness of Small School Students under the Office of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 1. (Doctoral Dissertation). Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani.
Chien, J. C. (2010). Examining a Successful Urban Elementary School: Putting the Pieces Together. (Research Report). Los Angeles: n.p.
Jiradamkeng, W. (2012). Project Management. Pathumthani: Wannakawee.
Kongkaew, P. (2016). Educational Resources Mobilization Strategies in Basic Educational Schools. (Doctoral Dissertation). UbonRatchathani RajabhatUniversity. UbonRatchathani.
McCarthy, B. W., & Fucito, L. (2005). Integrating Medication, Realistic Expectations, and Therapeutic Integration in the Treatment of Male Sexual Dysfunction. Journal of Sex and Marital Therapy, 31(4), 319–328.
Office of the Basic Education Commission. (2020). OBEC POLICY 2020. Bangkok: Office of the Basic Education Commission.
Sittikarn, P. (2014). The Model of Excellent Project Management of Schools under the Jurisdiction of Primary Educational Service Office Areas in Southern Provinces of Thailand. (Doctoral Dissertation). Prince of Songkla University. Songkla.
Suksan, B. (n.d.). Project Evaluation. Udonthani: Udonthani Rajabhat University.
Yemini M., Oplatka I., & Sagie N. (2018) Project Monitoring, Control, and Evaluation: The Unique Aspects of Projects in Schools. In: Project Management in Schools. Palgrave Pivot, Cham. Retrieved January 30, 2021, form https://doi.org/10.1007/978-3-319-78608-7_6