การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนเอกชน

Main Article Content

กษมา ขนะวงศ์
วิทยา จันทร์ศิลา
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนเอกชน 2) สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนเอกชน 3) ประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนเอกชน โดยทำการศึกษาวิจัยด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหาร ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 โรงเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยวิธีการสัมภาษณ์ และผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 50 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนเอกชน บันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเป็นไปได้ของการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนเอกชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  


ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้าด้านการบริหาร ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน การออกแบบหลักสูตร การบริหารจัดการสถานศึกษาที่ดี ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา 2) กระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ประกอบด้วย การศึกษาบริบทและกำหนดวัตถุประสงค์ การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร การวางแผนการพัฒนาหลักสูตร การใช้หลักสูตร การนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตร 3) คุณลักษณะความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย การคิดเป็น ทำเป็นและอยู่เป็น 2. การสร้างรูปแบบจากข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 และนำไปตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบพบว่า รูปแบบที่มีองค์ประกอบของปัจจัยนำเข้าด้านการบริหาร กระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรและคุณลักษณะความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนเอกชนมีความเหมาะสม และ 3. การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนเอกชน พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.80 S.D.= 0.43)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กษมา ขนะวงศ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

References

Apaijai N. (2017). Education Management Model for Career Encouragement of Disadvantaged Students in School Under Royal Initiative. Doctor of Philosophy Program in Educational Leadership and Human Resource Development. (Doctoral Dissertation). Chiang Mai Rajabhat University. Chiang Mai.

Asawapoom, S. (2016). Excellence and Management of Excellence. Buabandit Journal of Education Administration, 16(1), 1-7.

Brandt, R. (2010). Preface. in James Bellanca and Ron Brandt. 21s Century Skills: Rethinking How Students Learn. IN: Solution Tree Press, ix-x.

Burimas J., & Nakaro A. (2013). Factors Affecting the Curriculum Administration in Schools Under the Supervision of Pang-nga Primary Educational Service Area. Phuket Rajabhat University Academic Journal, 9(2), 115.

California State University, Fresno. (n.d.d.). Academic Excellence. Retrieved September 11, 2019, from http://www.csufresno.edu/honorsocieties/phi_kappa_phi/Academic_Excel lence.htm.

DePorter, B. (2000). The 8 Keys of Excellence: Principles to Live by. FL: Forum Learning.

Chareonsettasin, T. (2019). Action Plan for Driving Minister of Education’s Policy. Retrieved December 12, 2019, from http://www.reo8.moe.go.th/web/images/stories/upfile/ specialtee.pdf

Jatturong S., & Rananun A. (2016). The Curriculum Management Affecting the Students’ Performance of Schools in Bureau of Special Education Administration Southern Group 7. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 1473-1487.

Johnson D., & Johnson R. (2010). Cooperative Learning and Conflict Resolution: Essential 21st Century Skills. In James Bellanca and Ron Brandt. 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Kirenthong, W. (2016). Role of Education Toward Thailand 4.0. 12th OEC Forum. Bangkok: Prikwan.

Ministry of Education. (2020). Thailand Education Eco-System. Retrieved September 12, 2020, from https://www.moe.go.th/33588-2.

Kampetdee R. (2015). A Development of Effective Curriculum Administration Model for Large-sized Secondary Schools in the Upper Northeastern. (Doctoral Dissertation). Sakon Nakorn Rajabhat University. Sakon Nakorn.

Office of the Education Council. (2019). National Education Standards B.E. 2561 (2018). Nontaburi: 21st Century.

Paethaisong R., & Ariratana W. (2010). School Curriculum Administration for Model School Curriculum Implementation Under the Office of Khon Kaen Educational Service Area 2: A Case Study. Journal of Education Graduate Studies Research, Khon Kaen University, 4(3), 103-113.

Palitpolkarnpim, P. (2019). Preface. 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bangkok: Bookscape.

Ruchuphan, M. (2016). Constitution and Direction of Education Reform. In 15th OEC Forum. Bangkok: Prikwan.

Sinlarat, P. (2016). Principle Curriculum Management and Teaching. Bangkok: Chulalongkorn Publishing.

Suwannapisit, S. (2012). Skills of the New Future: What is Learning in 21st Century. Retrieved September 2, 2019, from http://www.qlf.or.th/home/contents/417

Thongying, C. (2016). Teacher’s Problem: Problem that Awaits Reform. Retrieved July 2, 2019, from https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parcy_train/ewt_dl_link.php? nid=37409