หลักประกันสุขภาพแรงงานประมงข้ามชาติและการปรับตัวภายใต้อนุสัญญาการทำงานในภาคประมงฉบับที่ 188: ปัญหาอุปสรรค และทิศทางการพัฒนาในอนาคต

Main Article Content

นพพล ผลอำนวย
วีระ หวังสัจจะโชค
รัตนสิทธิ์ ทิพย์วงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์การจัดหลักประกันสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าวด้านประมงของไทย 2) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบที่เป็นทางเลือกในการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพให้คุ้มครองแรงงานข้ามชาติประมงในอนาคต ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เน้นถึงความเป็นไปได้ ประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้น โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การสำรวจเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามกึ่งโครงสร้าง และการเสวนากลุ่มระดมความคิดเห็น กำหนดผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์และระดมความคิดเห็นเป็นตัวแสดงสำคัญ (Key-Informants) เกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ จำนวน 5 คุณลักษณะตัวแสดงสำคัญเพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาหลักในการจัดหลักประกันสุขภาพแก่แรงงานข้ามชาติประมง มีปัญหาทั้งในเชิง “โครงสร้าง” และปัญหาเรื่อง “การเมืองและทัศนคติ” ในด้านปัญหาโครงสร้างอันเกิดจากความไม่เท่าเทียมจากการแบ่ง “สถานะ” บุคคลที่ไม่ใช่คนไทย รวมไปถึงปัญหาการขาด “กฎหมายระดับชาติ” (National regulations) ในการเชื่อมโยงสถานะของบุคคลที่ไม่ใช่คนไทยกับการมีระบบประกันสุขภาพบังคับ ส่งผลให้ปัญหาในเชิงการบริหารจัดการเกิดสภาวะของการทำงานที่แยกส่วน (Fragmented) ไม่มีหน่วยประสานงานกลางที่มี “อำนาจ” ในการสั่งการหรือกำกับดูแลการทำงาน และการขาดสมดุลระหว่างประเด็นเรื่องความมั่นคง และประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนและข้อตกลงระหว่างประเทศ จากปัญหาข้างต้นบทความนี้จึงเสนอ2) รูปแบบที่เป็นทางเลือกในการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพให้คุ้มครองแรงงานต่างด้าวด้านประมง 4 ทางเลือกหลัก ดังต่อไปนี้ 1) ยกเลิกบัตรประกันสุขภาพ และแรงงานข้ามชาติทั้งหมดเข้าสู่ “ระบบประกันสังคม” 2) หลักประกันสุขภาพ “คู่ขนาน” ระหว่างประกันสังคม และบัตรประกันสุขภาพที่ผ่านการยกร่างเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ 3) เสนอ “ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ/คนต่างด้าว/ผู้มีปัญหาทางสถานะ” ในรูปแบบของ “กองทุนใหม่” ที่บูรณาการทุกส่วนเข้ามาในนี้ 4) แก้ไขกฎหมายหรือการตีความพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 ในมาตรา 5 ให้ครอบคลุมถึงคนไทยและบุคคลที่ไม่ใช่คนไทยรวมถึงแรงงานข้ามชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cabinet Resolution. (2013). The operation extension of One Stop Service center. Retrieved December 14, 2019, from http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99307354.

Chimmamee, M. et al. (2014). Social Capital and Human Capital Development of Migrant Workers Myanmar, Laos, Cambodia in Thailand. Journal of Social Research, (37)2, 195-242.

Division of Health Economics and Health Security: Ministry of Public Health. (2019). Ministry of Public Health’s Announcement: Medical Check-Ups and Health Insurance for Migrant Workers, pp. 3-9.

International Labour Organization. (2007). C188 – Working in Fishing Convention. Retrieved February 5, 2020, from https:// www.ilo.org/dyn/normlex/en/f?p=NORMLEXPUB:12100:0::NO::P12100_ILO_CODE:C188.

Kesornthong, S. et al. (2017). Occupational health problems among migrant workers in Samut Sakhon Province. Disease Control Journal, 43(3), 256-269.

Khoykaewpring, V. (2019). Labour Protection in Fishing Work Act considered by the Ad-Hoc Committee of National Legislative Assembly of Thailand. Meeting rooms 1-2 Parliament Building 2, Bangkok : The Secretariat of the Senate.

Labour Protection Act B.E. 2541. (1998). Government Gazette, 115 (8ก), 1-44.

Labour Protection in Fishing Work Act B.E. 2562. (2019). Government Gazette, 136 (67ก), 191-199.

Ministry of Public Health. (2012). Medical care for migrant workers who exempted from social security. Retrieved January 28, 2020, from http://www.cabinet.soc.go.th/doc_image/2556/9930660716.pdf.

Ministry of Public Health’s Announcement. (2019). Medical Check-Ups and Health Insurance for Migrant Workers. Retrieved October 15, 2019, from https://dhes.moph.go.th/wpcontent/uploads/2019/05.

National Reform Steering Assembly. (2016). Registration for migrant workers at border crossing points in order to organize them into the system. Bangkok: The Secretariat of The House of Representatives.

Phoomchaiyachot, T. (2017). The Decision of Myanmar Migrant Workers Enter into The Health Insurance Scheme According to Ministry of Public Health’s Announcement in 2014 in Samut Sakhon Province. Public Health & Health Laws Journal, 3(1), 16-30.

Pokpermde, P. (2011). Expanding Health Care Coverage for People with Citizenship Problems (Stateless Minority): A Step Forward for Health Insurance in Thailand. Journal of Health Systems Research, 5(1) January-March.

Subpol, M. (2019). The Comparation of Thai and Foreign workers welfare in Thailand. Pathumtani : Valaya Alongkorn Rajabhat University.

U.S. State Department’s Office to Monitor and Combat Trafficking in Persons. (2014). Retrieved March 24, 2020, from https://20092017.state.gov/documents/organization/226849.

Vittaporn, S., & Panruksa, K. ( 2017) . The Development of Healthcare Services for Migrant Workers in The Thai Fishing Industry: Case Study in Samut Sakhon Province. Journal of Public Health Research, Khonkaen University, 10(2), 28-39.