รูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาหรือหัวหน้างานนิเทศ 121 โรงเรียน จำนวน 121 คน 2) สร้างรูปแบบการใช้เทคโนโลยี ผู้ตรวจสอบและประเมินรูปแบบได้แก่ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน 3) ทดลองใช้รูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 1 โรงเรียน โดยทดลองกับผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 138 คน 4) ประเมินรูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินรูปแบบและคู่มือรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.91, S.D=0.81) ปัญหาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=2.80,S.D=0.82) ความต้องการพบว่า ความต้องการที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อุปกรณ์ และเครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานในสถานศึกษาให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ 2) ผลการสร้างรูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีการดำเนินการ 4) แนวทางการประเมินผล 5) เงื่อนไขความสำเร็จ วิธีการดำเนินการมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวางแผนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) การสร้างความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 3) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปปฏิบัติ โดยดำเนินการนิเทศในขอบข่ายเนื้อหา 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ (2) ด้านการจัดทำและใช้แผนการเรียนรู้ (3) ด้านการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการศึกษา และ (4) การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการศึกษา 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 93.54 4) ผลการประเมินรูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยรวมรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chuha, U. (2019). A Study of the satisfaction of using the Zoom cloud meeting Application to help teach in the midwifery practice course. Journal Mahasarakham University. Year16 No.1 (January - April) B.E2562.
Intaramanee,S. (2019). Administration of educational institutions in the Digital Era. Academic Journal, University management and Eastern Technology.
Ministry of Education, (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E.2551 (A.D.2008).Bangkok. The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited Publisher.
Ministry of Information and Communication Technology, (2016). Digital Development for National Economic and Social Development.Bangkok. Ministry of Information and Communication Technology.
Office of the Council of State, (2002). National Education Act B.E.2542 (1999). Issue 116 Part 35A.
Padiworn, N. (2020). A Digital Technology Skill Development Model if School Administrator under Office of the Basic Education Commission. Dissertation of Doctor of Education Program in Educational Administration, Ubon Ratchathani Rajabhat University.
Phra Saroj Dhtrabhaddo (Nimniam).(2018). The Use of Digital Media for Moral Instruction for Students In Secondary Schools in Mueang District, Samutprakarn Province. The Requirements for the Degree of Master of Arts (Buddhist Educational Administration) Graduate School Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Puetmongkol, S., Uthairat W. (2015). A High-Quality Digital Technology Management Model based on International Standards of Secondary School in the Southern Regions of Thailand. Academic Journal Eastern Asia University Social Sciences and Humanities Vol.5, Issue 2, May-August 2015.
Ratheeswari, K (2018). Information Communication Technology in Education. Journal of Applied and Advanced Research.
Sadaf Salavati. (2016).Use of Digital Technologies in Education. Linnaeus University Dissertations.
Teerapong, S. (2018). Virtual Supervision. Suandusit University.
Wongyai, N. (2560). A guide to developing digital literacy skills of digital native. Veridian E-Journal, Silpakorn University.