กระบวนทรรศน์กับการบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

Main Article Content

ลัดดา ไทยปรีชา
กีรติ บุญเจือ
เมธา หริมเทพาธิป

บทคัดย่อ

การบริบาลผู้ป่วยในปัจจุบันมีปรัชญานวยุคเป็นแนวทางหลัก แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องเผชิญความเจ็บป่วยอย่างแท้จริง จะเห็นว่าทั้งผู้บริบาลและผู้ป่วยกลับมีท่าทีที่แตกต่างกันไปตามกระบวนทรรศน์ต่างๆ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาว่า “ปรัชญาหลังนวยุคสายกลางสามารถประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้หรือไม่” บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธาน การบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง โดยใช้วิธีวิจัยทางปรัชญา อันได้แก่ วิภาษวิธี ซึ่งเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างฝ่ายตรงข้ามที่ยึดมั่นในปรัชญานวยุคกับฝ่ายผู้วิจัยและผู้สนับสนุนความคิดของผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า ฝ่ายตรงข้ามมีมุมมองว่า การบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะต้องใช้ปรัชญานวยุคเท่านั้น โดยเห็นว่าปรัชญากระบวนทรรศน์นวยุค เป็นกระบวนการที่มีความน่าเชื่อถือเป็นสากล แต่ผู้วิจัยมีความเห็นแย้งกับข้อเสนอดังกล่าวจึงได้เสนอคำตอบใหม่ว่า การบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถนำปรัชญาหลังนวยุคสายกลางมาประยุกต์ใช้ได้ด้วยเหตุผลที่ว่า ปรัชญานวยุคละเลยในเรื่องจริยธรรมดูแลและปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ ในขณะที่ปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเสริมสร้างวิจารณญาณ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้บริบาลและผู้ป่วยใช้พลัง 4 คือ สร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือและแสวงหา รวมทั้งยึดหลัก 3 กล้า เพื่อเข้าถึงอุดมการณ์สูงสุดในชีวิต และให้สามารถยอมรับการเจ็บป่วยได้อย่างมีความสุขแท้ตามความเป็นจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amaritwarin, S. (2017). Sufficiency Economy Philosophy and Authentic Happiness According to Reality. SSRU Graduate Studies Journal, 8(2), 1.

Bunchua, K. (2008). Ethics Handbook Based on International Principles. Bangkok: Chain Printing.

______. (2014). 84,000 Dhamma Khandhas are for Scholars, Not for Educators. SSRU Graduate Studies Journal, 7(1), 1-15.

______. (2016). Authentic Happiness from Wisdom Awareness Self. Retrieved February 22, 2021, from: https://thamdimisukh.wordpress.com/2017/07/31/.

Harimthepatip, M. (2017). Duty to Be Done. Retrieved February 22, 2021, from: https://www. gotoknow.org/posts/643080

Kant, I. (1969). The Moral Law. Translated by H. J. Paton. London: Hutchinson University Library.

Makmee, P. (2019). The Development of Life Skills in Critical Cognitive Skills of Student in the Vocational. The Journal of Factory of Nursing Burapha University, 27(3), 11.

Phra Paisal Visalo. (2015). The Body is Sick but the Mind Is Not Sick. Retrieved February 22, 2021, from: https://www.facebook.com/visalo/posts/1285618634798784

Rungnoei, N. (2016). Health Assessment: A Holistic Approach. Nontaburi: Tanapress.

Sangkanjanawanich, W. (2016). Analysis of Medical Engagement in Quality of Life: New State of Better Society. (Research Report). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Sangkanjanawanich, W. & Suwanbandit, A. (2016). Medical-People Engagement: Philosophical Approach. Journal of Siriraj Radiology, 1(3), 63-70.

World Health Organization. (2002). National Cancer Control Programmes: Policies and Managerial Guidelines. Geneva: World Health organization.