เส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ประภาส แก้วเกตุพงษ์
วิเชียร แสนมี
จุรี สายจันเจียม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อเสนอแนะส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี คือ เชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักท่องเที่ยวจำนวน 231 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวบข้อมูลเป็นแบบสอบถามโดยได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .87 และแบบสัมภาษณ์ใช้วิธีการอธิบายความในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


1) เส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด ทั้ง 3 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) = 3.74 ด้านประชาสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) = 3.64 ด้านการคมนาคม มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) = 3.59


2) ด้านการจัดการท่องเที่ยว พบว่า เส้นทางการท่องเที่ยวยังขาดการจัดการที่เป็นระบบและสัดส่วนที่เหมาะสม รวมถึงระบบสาธารณูปโภคโดยรวมน้อยมาก ด้านการประชาสัมพันธ์ การโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ ยังไม่ทั่วถึง คนที่มาส่วนมากจะเป็นศิษยานุศิษย์ในสายธรรม เส้นทางการเข้าถึงวัดยังไม่สะดวกพอทำให้ไม่มีความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่รู้จักเส้นทาง ด้านการคมนาคม ระบบให้บริการขนส่งยังไม่เพียงพอ เช่น รถตู้ รถสองแถว รถจักรยานยนต์รับจ้าง ป้ายบอกทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวยังไม่ชัดเจนและไม่เพียง ส่วนป้ายบอกสถานที่และจุดบริการต่าง ๆ มองไม่ชัดและชำรุด


 3) ด้านการจัดการท่องเที่ยว บุคลากรภายในเองควรเอาใจใส่ร่วมกันคิดช่วยกันรักษาร่วมกันพัฒนา โดยเฉพาะเรื่องของความสะอาด เพราะความสะอาดของสถานที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของแหล่งที่ท่องเที่ยว ควรบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ที่ชำรุดทรุดโทรม ควรปลูกต้นไม้ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มความร่มรื่น ซึ่งเป็นการทำให้ภูมิทัศน์ของวัดสวยงามเหมาะกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการประชาสัมพันธ์ ควรเพิ่มจำนวนป้ายบอกสถานที่ ป้ายชี้ทางเข้าสู่วัดให้ชัดเจนและจุดบริการต่าง ๆ ควรเพิ่มจำนวนป้ายบอกทางเดินชมภายในสถานที่ เพื่อให้ผู้มาเที่ยวได้รับความสะดวกสบาย ไม่งง ไม่สับสน ควรมีการทำสื่อหรือประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้หลายช่องทาง ด้านการคมนาคม ควรมีระบบขนส่งที่ให้บริการอย่างเพียงพอเพื่อให้เข้าถึงวัดได้สะดวก เพราะสถานที่ตั้งของวัดส่วนมากอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนที่มีการบริการน้อย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Akarangkoon, S. (2008). Tourist Behavior. Khon Kaen: Khlang-nana Vidya.

Channarong, N. (2010). Culture and Religion. (7th ed.). Bangkok: Ramkanhaeng University.

Chittangwattana, B. (2005). Sustainable Tourism Development. Bangkok: Plate and Design.

Chumsai, T. (1975). Principles of Tourism. Bangkok: Prae Pittaya.

Daengrot, P. (2011). Tourism Industry to the 21st Century. Bangkok: Five and Four Printing.

Dinkhoksoong, S. (2006). Community-Based Tourism Management: A Case Study of Chaba Beach, Chaba Sub-District, Muang District, Ubon Ratchathani Province. (Master's thesis). Business Administration Faculty of Business Administration: Khon Kaen University.

Pathomkanjana, Ch., & Sangraksa, N. (2015). Guidelines for Promoting Cultural Tourism with Participation of Bang Luang Market Community, Bang Len District, Nakhon Pathom Province. Journal of Academic Resources Prince of Songkla University, 26(1), 118-129.

Pongnirandon, S., Baotham, O., & Yodsuvan, Ch. (2016). Guidelines for Developing Tourism Management Potential Wang Nam Khiao District Nakhon Ratchasima Province. Journal of the College of Graduate Studies in Management Khon Kaen University, 9(1), 234-259.

Poonsawat, P., Vongplab, A., & Chivareecha, Y. (2015). Application of Geographic Information System to Support Tourism in Thailand. National Academic Conference 3rd Inter-Institute Science and Technology (pp.234-259). ASTC2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference.

Rayabsri, W. (2008). Buddhist Tourism Behavior of Both Thai and Foreign Tourists Visiting the Temple In Rattanakosin Bangkok. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Varakavin, K., Naunanan, P., & Senawong, P. (2003). Thailand Tourism Geography. Bangkok: Academic Quality Development Co., Ltd.

Wangpaijit, S. (1994). Thailand Travel in a Sustainable Direction. Bangkok: Tourism Authority of Thailand.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.