ตามรอยพระอัจฉริยภาพด้านผู้นำของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สู่การปฏิบัติของผู้นำองค์กรภาครัฐ

Main Article Content

วิชชุกร คำจันทร์
อภิรัตน์ กังสดารพร

บทคัดย่อ

การบริหารที่เป็นผู้นำองค์กรภาครัฐจะต้องมีความรับผิดชอบสูงกว่าผู้บริหารองค์กรภาคเอกชนส่วนพระอัจฉริยภาพด้านผู้นำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่หนือกว่าผู้นำทั่วไปเพราะเป็นต้นแบบของผู้ที่มีความรู้ ความสามารถที่หลากหลาย บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาพระอัจฉริยภาพ นำเสนอรูปแบบพระอัจฉริยภาพ และแนวทางการพัฒนาความเป็นผู้นำของผู้นำองค์กรภาครัฐตามรอยพระอัจฉริยภาพความเป็นผู้นำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลผ่านการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักผู้ที่ทำงานและมีประสบการณ์การทำงานสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จำนวนทั้งสิ้น 14 คน เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกมีประเด็นคำถามแบบมีโครงสร้าง สรุปข้อมูลที่ได้นำมาอภิปรายผลตามทฤษฎีและปรากฏการณ์ เพื่อค้นหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะวิเคราะห์และนำเสนอผลแบบเชิงพรรนณา


ผลการวิจัยพบว่า พระอัจฉริยภาพด้านผู้นำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พบว่า  พระอัจฉริยภาพเชิงทฤษฎี 9 รูปแบบ พระอัจฉริยภาพด้านการทรงงาน 15 รูปแบบผู้นำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านจิตรกรรม ด้านประติมากรรม ด้านการช่าง นวัตกรรม และเทคโนโลยี ด้านการถ่ายภาพ ด้านการกีฬา ด้านดนตรี และอื่นๆ รูปแบบพระอัจฉริยภาพความเป็นผู้นำ และด้านการทรงงาน แนวทางการพัฒนาความเป็นผู้นำของผู้นำองค์กรภาครัฐตามรอยพระอัจฉริยภาพความเป็นผู้นำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีแนวทางดังนี้ 1) การบูรณาการ 2) การทำ Benchmarking หรือการเลือกคุณลักษณะเด่นของพระอัจฉริยภาพ 3) การสร้างองค์กรต้นแบบตามรอยพระอัจฉริยภาพ โดยใช้องค์กร   ที่รับสนองงาน 4) การกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาผู้นำองค์กรภาครัฐเรียกว่าทฤษฎี Phumipol Theory

Article Details

How to Cite
คำจันทร์ ว., & กังสดารพร อ. . (2021). ตามรอยพระอัจฉริยภาพด้านผู้นำของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สู่การปฏิบัติของผู้นำองค์กรภาครัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 2880–2892. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/250641
บท
บทความวิจัย

References

Aeknarachindawat, N. (nd.). Development Management Leadership. Suan Sunandha Rajabhat University.

Bass, B. M., & Riggio, R. E. (2006). Transformational Leadership. (2nd ed.). Washington, DC: Lawrence Erlbaum Associates Publishers. Washington, DC.

Conger, J. A., & Kanungo, R. (1987, July). Toward a Behavioral Theory of Charismatic Leadership in Organizational Settings. Academy of Management Review, 12, 637-647.

Dennis, R. S., & Bocarnea, M. (2004). Development of the Servant Leadership Assessment Instrument. Leadership & Organization Development Journal, 26(8), 600-615.

Du Brin. (1998). Leadership Research Finding: Practice and Skills. Boston: Houghton.

Karawekpan, B. et al. (2017). A New Approach to Government Administration. “King Prajadhipok's Institute (October). Retrieved March 25, 2020, from http://www. wiki.kpi.ac.th/

Kuapan, S. (2012). A Study of Guidelines for Applying the Mentoring System to Human Resource Development in the Core Department of the Office of the Council of State. (Doctoral Dissertation). Mahidol University. Nakhon Pathom.

Nadler & Tushman. (1990). Beyond the Charismatic Leader: Leadership and Organizational Change. California Management Review, 32(2), 77.

Pamchajan A. (2012). Develop a Model of Servant Leadership for Educational Service Area Administrators. (Doctoral Dissertation). Sripatum University. Bangkok.

Pantaroong, N. (2012). Research Report on Model of Performance Development of Academic Support Personnel Suan Dusit Rajabhat University Bangkok. (Research Report). Suan Dusit Rajabhat University.

Petpimol, C. & Chenaksara, N. (2015). Charismatic Theory. Silpakorn Educational Research Journal, 7(1), 217-229.

Phawakanan, U. (2012). Characteristics of Organizational Leaders in Thailand During 1996-2011. Journal of HR Intelligence, 7(1), 6-20.

Sakwarawit, A. (2017). Descriptive Statistics, Exploratory Data Analysis, and Statistical Graphic with Basic R Programming. (2nd Edition). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sanakhum, T. (2017). Leadership Characteristics Affecting the Success of Domestic Non-Profit Organizations. Thai Southeast Bangkok Journal, 3(1), 79-97.

Sathachatmongkhol, N. & Dhampaiboon, A. (2016). Leading the Change in the Globalization Era to Sustainable Development. Business Journal Review, 8(1), 167-182.

Suksomboon, W. (2008). Globalization, Human Rights and International Justice: Issues and Political Theoretical Perspectives. (1st edition). Bangkok: Green Print Co., Ltd.

Wongwatthanaphong, K. (2017). Application of Benchmarking Tool in Public Administration. Journal of Management Sciences, 34(1), 135-159.