นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรด้วยวิธีการเชิงพื้นที่: กรณีศึกษาหลักสูตรท้องถิ่นประวัติศาสตร์นครหริภุญไชย

Main Article Content

ชรินทร์ มั่งคั่ง
กรวิชญ์ จิตวิบูลย์
เตชินี ทิมเจริญ
นิติกร แก้วปัญญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นประวัติศาสตร์นครหริภุญไชย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรท้องถิ่นประวัติศาสตร์นครหริภุญไชย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม ผู้นำชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน จำนวน 30 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 2) หลักสูตรท้องถิ่นประวัติศาสตร์นครหริภุญไชยที่พัฒนาขึ้น และ 3) แบบประเมินหลักสูตรท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


จากผลการวิจัยพบว่า 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาสังคม ชุมชน และสถานศึกษามีความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ประวัติศาสตร์นครหริภุญไชย เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่สร้างอัตลักษณ์ให้กับชุมชน และสอดคล้องกับบริบทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และตระหนักถึงคุณค่าประวัติศาสตร์ในชุมชนของตน และ 2. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นประวัติศาสตร์นครหริภุญไชย มีองค์ประกอบ 5 ประการ และมีโครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วย 7 หน่วยการเรียน ซึ่งมีกระบวนการพัฒนาเรียกว่า “วิธีการเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาหลักสูตรแบบมีส่วนร่วม” และผลการประเมินหลักสูตรท้องถิ่นภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Academic Department. (1997). Local wisdom and management in primary and high school. Bangkok: Academic department ministry of education.

Buasri, T. (1999). Curriculum: Design and Development. Bangkok: Thanarat.

Buason, R. (2013). Qualitative research of education. Bangkok: V. PRINT (1991) COMPANY LIMITED.

Bunsong, K., & Phetsom, N. (2013). Development of Local Curriculum emphasize on ASEAN. Phetchaburi: Phetchaburi Rajabhat University.

Chanrang, T. (2016). A study of the state and conservation of archaeological. Sites in camadevivamsa scripture. Journal of Graduate Research, 7(1), 137-151.

Chobyod, S. (2019). Local history for sustainable and consolidated local development. King Prajadhipok's Institute Journal, 12(2), 115-138.

Choiekewong, A. (2002). Local curriculum: strategic reformation of education. Bangkok: Krung Thana Phatthana.

Chuaratanaphong, J. (1996). Curriculum development: principles and practices. Bangkok: Aline Press.

Education Council Secretariat. (2017). The national education plan 2017-2036. Bangkok: Prickwan Graphic.

Facer, K. (2009). Towards an area-based curriculum: Manchester curriculum literature review. London: Royal Society for the Arts, Manufacture and Commerce.

Lamphun Provincial Office. (2020). Lamphun development plan 2017-2022 repeat edition in 2020. Lamphun: Lamphun Provincial Office.

Mangkhang, C. (2017). Ideology: social studies curriculum for all. Bangkok: Chulalongkorn University.

Ministry of education. (2002). Guide to learning management for social studies, religion and culture. Bangkok: Organization for the delivery of goods and supplies.

_______. (2010). National Education since 1999. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.

National Economic and Social Development Board. (2017). National Economic and Social Development Plan vol 12 2017-2021. Bangkok: Office of the Prime Minister.

Thadtong, K. (2007). Development of Local Curriculum. Bangkok: Kasame Printing.

The National Primary Education Commission. (1999). National Education 1999. Bangkok: The Printing House of the Teachers' Council.

Thongthew, S. (2001). Community strength: a case of community for improve local curriculum. Bangkok: Center development of education faculty of education, Chulalongkorn University.

Sanjit, K. (2009). Ancient Haripunjaya based on archaeological evidence. Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Sriwilai, N. (2002). Developing local curriculum on Karen Cloth Weaving subject for the lower secondary classroom at Mae Tuen Wittayakom school, Omkoi district, Chiang Mai province. (Doctoral Dissertation). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Supho, P. (2004). Using natural learning resources in school area for developing learning about natural and environment conservation. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Wittayapak, C. (2003). History of the contestation for access to resources of Nan people. Bangkok: The Thailand Research Fund.