พฤติกรรมการรับบริการและความต้องการของประชาชนในการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดตรังตามวิถีมุสลิม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับบริการและความต้องการของประชาชนในการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดตรังตามวิถีมุสลิม และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดตรังตามวิถีมุสลิม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามประชาชนที่เป็นมุสลิม จำนวน 400 คน ใน 6 อำเภอของจังหวัดตรังที่มีประชากรมุสลิมอยู่อาศัยหนาแน่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการรับบริการของประชาชนในการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดตรังตามวิถีมุสลิมของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เคยมีประวัติการเคยป่วยหรือเจ็บไข้ด้วยโรคในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา เมื่อเจ็บป่วยเลือกจะไปพบแพทย์ สำหรับเหตุผลที่จะไม่ไปพบแพทย์ เนื่องจากสามารถซื้อยากินเองได้ โดยหากจำเป็นต้องไปพบแพทย์ สถานบริการสาธารณสุขที่เลือกเป็นลำดับแรก ได้แก่ โรงพยาบาลรัฐ และคลินิก ตามลำดับ ส่วนสาเหตุที่ไปรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขดังกล่าว เพราะอยู่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก ประสบการณ์ในการรับบริการสาธารณสุขที่โรงพยาบาลรัฐในจังหวัดตรัง ส่วนใหญ่เคยรับบริการ ในฐานะเป็นผู้ป่วยในที่กำลังรับการรักษาโรงพยาบาล ส่วนสิทธิในการรับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ ส่วนใหญ่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง ในกรณีที่ไปรักษาการเจ็บป่วยที่โรงพยาบาลรัฐ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มกรอกประวัติผู้ป่วยจนถึงเวลาเริ่มตรวจ โดยเฉลี่ยใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 31-60 นาที สำหรับค่าเฉลี่ยระดับความต้องการของประชาชนในการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดตรังตามวิถีมุสลิมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.64, S.D.=1.05) โดยความต้องการด้านอาหารฮาลาลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ด้านการสัมผัสผู้ป่วย ด้านการแต่งกาย และด้านการปฏิบัติศาสนกิจ ตามลำดับ 2) ผลของการเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดตรังตามวิถีมุสลิม พบว่า เมื่อจำแนกตามสถานภาพสมรส การศึกษาสายศาสนา ประเภทการศึกษาสายศาสนาและการประกอบอาชีพ ที่ต่างกัน ความต้องการของประชาชนในการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดตรังตามวิถีมุสลิมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติศาสนกิจ และด้านการแต่งกาย ประชาชนต้องการการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดตรังตามวิถีมุสลิมแตกต่างกันมากที่สุด รองลงมา ด้านอาหารฮาลาล และด้านการสัมผัสผู้ป่วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Attum, B., Waheed, A., & Shamoon, Z. (2019). Cultural Competence in the Care of Muslim Patients and their Families. Retrieved April 19, 2020 from https://www.ncbi.nlm.gov/ books/NBK499933/.
Constitution Drafting Commission. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560. Retrieved December 11, 2020, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF.
Chulalongkorn Hospital. (2020). Prayer room. Retrieved April 19, 2020, from http://www. chulalongkornhospital.go.th/kcmh/facilities/
Iamtrang.com. (2011). Cultural Heritage - Religion, Rituals, Beliefs - Religion - Islam in Trang. Retrieved August 5, 2020, from http://www.iamtrang.com/?p=873
Jaisoongnern, W. (2018). Perception and Utilization of Universal Coverage Scheme Beneficiaries: Case Study of Phra Samut Chedi District Samut Prakan Province. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Phetchaburi.
Matichon Online. (2017). Trang Muslim People Required Prayer Space in Hospital. Retrieved April 17, 2020, from https://www.matichon.co.th/region/news_605945
Momula, M. (2009). Providing Health Services According to the Muslim Lifestyle During Adulthood. Songkhla: Southern Institute of Health System Research, Prince of Songkla University.
Momula, M., & Nima, Y. (2009). The Integration of Knowledge of Islamic Law. Songkhla: Southern Institute of Health System Research, Prince of Songkla University.
Namjaidee, R. (2014). Choice of Benefits Use at Point-of-Services by Patients with Thai Health
Insurance. Academic Services Journal Prince of Songkla University, 25(2), 74-82.
National Health Security Office. (2020). Universal Coverage. Retrieved December 31, 2020, from https://www.nhso.go.th.
Nima, Y., & Hasuwankit, S. (2008). Medical and Patient Care Consistent with the Muslim Way.
Songkhla: Southern Institute of Health System Research, Prince of Songkla University.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2020). National strategy (2018-2037). Retrieved May 14, 2020 from http://nscr.nesdb.go.th.
Osborne, D., & Gaebler, T. (1992). Reinventing Government. Reading, MA: Addison Wesley.
Ott, B. B., Al-Junaibu, S., & Al-Khadhuri, J. (2003). Preventing Ethical Dilemmas: Understanding Islamic Health Care Practices. Pediatric Nursing, 23(3), 227-230.
Phugkaew, V., & Phra Brahmabandit (Prayoon Dhammacitto). (2020). Elderly Well-Being Promotion by Buddhist Peaceful Means. Journal of MCU Peace Studies, 8(2), 751-762.
Queensland Health. (2010). Health Care Providers’ Handbook on Muslim Patients. Retrieve April 18, 2020, from https://www.health.qld.gov.au/_data/assets/pdf_file/0034/155 887/islamgde2ed.pdf
Rassool, G. H. (2015). Cultural Competence in Nursing Muslim Patients. Nursing Times, 111(14), 12-15.
Samanloh, S., Prutipinyo, C., Sirichotiratana, N., & U-sathaporn, S. (2017). Decision on Using Self-Referral Health Care Services by Cancer Patients Under Universal Coverage Scheme at Siriraj Hospital. Public Health & Health Laws Journal, 3(1), 31-45.
Scunthorpe Central Mosque. (2017). Guideline for Muslim Patient Care in North Lincolnshire. Retrieved April 18, 2020, from https://www.nlg.nhs.uk/content/uploads/2017/11/ Muslim-patient-care.pdf
Surasai, N., Sopapo, N., & Raksilp, M. (2020). A Model of Integration of Health Care Culture with Buddhist Medicines. Journal of MCU Peace Studies, 8(6), 2392-2407.
The Islamic Foundation. (2020). Career in Islam. Retrieve January 5, 2021, from https://www. islammore.com/view/4873.
Tohkani, M., & Siriphan, S. (2010). Positive Thinking in Muslim Heath Care. Princess of Naradhiwas University Journal, 2(3), 115-122.
Totong, K., Wongsangiem, N., & Wongsagiem. M. (2018). Problems and Needs of Thai Muslim for Health Service Based on Muslim Ways. The Public Health Journal of Burapa University, 13(2), 102-116.
Trang Provincial Statistical Office. (2021a). Brief History of Trang Province. Retrieved December 31, 2020, from http://trang.nso.go.th.
Trang Provincial Statistical Office. (2021b). General Information of Trang Province. Retrieved December 31, 2020, from http://trang.nso.go.th.
Watcharatanapattada, P. (2019). Development of Model for Promotion Sustainable Community Participation in the Implementation of Integrated Health Management Sub-District of Phitsanulok Province. Journal of MCU Peace Studies, 7(2), 392-40.