การยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของ โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

Main Article Content

อาลัย พรหมชนะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2. สร้างรูปแบบและแนวทางการปฏิบัติชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน 3. ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน และ 4. ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ


ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน จำนวน 69 ตัวแปร สามารถกำหนดเป็น 8 องค์ประกอบและตั้งชื่อองค์ประกอบได้ดังนี้ 1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ จำนวน 11 ตัวแปร 2) การมีส่วนร่วม รวมพลังของทีม จำนวน 16 ตัวแปร 3) การเป็นผู้นำร่วม จำนวน 23 ตัวแปร 4) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน  จำนวน 4 ตัวแปร  5) การกำหนดโครงสร้างการบริหารชุมชน จำนวน 3 ตัวแปร  6) การเป็นชุมชนกัลยาณมิตร จำนวน 5 ตัวแปร 7) การติดตามผลความสำเร็จ จำนวน 3 ตัวแปร 8) การรายงานผลลัพธ์การบริหารชุมชน จำนวน 4 ตัวแปร 2. รูปแบบและแนวทางการปฏิบัติชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านมีความคิดเห็นพ้องต้องกันว่ารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน มีความเหมาะสม 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของ นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้สูงขึ้น และมีคะแนนของผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) ดีขึ้น และนักเรียนได้รับรางวัลในการแข่งขันระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ 4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง และด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Education. (2008). Handbook of basic educational institution administration as a juristic person. Bangkok: SVG.

Chalermchart M. (2015). Guidelines for developing a learning community of private educational institutions. (Master’s Thesis). Educational Administration Branch, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. Nakhon Si Thammarat.

Chuchat P. (2015). Professional learning community. Bangkok: PTA.

Vijay P. (2011). Way to create learning for students in the 21st century. Bangkok: Tathata Plumbing Co., Ltd.

Pongthip T. (2014). Development of a professional learning community for primary school teachers. Silpakorn Education and Research Journal. 6(2), 284-296.

Surapon P. (2014). Strategies for Developing the Quality of Learners of Schools Under the Secondary Education Service Area Office 41. (Doctoral Dissertation). Kamphaeng Phet Rajabhat University. Kamphaeng Phet.

Darling-Hammond. (1999). How Teacher Education Matters. Journal of Teacher Education, 51(3), 166-173.

Brookfield, Stephen. (1995). Becoming a critically reflective teacher. San Francisco: JosseyBass Publishers.