รูปแบบการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

สุธิดา เลขาวิจิตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 2) ศึกษากระบวนการจัดการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 3) ศึกษาการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และ 4) วิเคราะห์แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 103 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีจำนวน 11 คน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (โดยรวม) พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.11, SD. = 0.36) 2) กระบวนการจัดการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (โดยรวม) พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.11, SD. = 0.36) 3) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านการจัดการที่มีผลต่อกระบวนการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (จำแนกตามการวิเคราะห์ SWOT) โดยภาพรวมแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ยังคงต้องมีการพัฒนาในด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมทางตลาด เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบตัววิสาหกิจในการขยายช่องการทำธุรกิจ อีกทั้งกระบวนการจัดการการวิเคราะห์ SWOT และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจยังต้องมีการอาศัยการพัฒนาการเรียนรู้จากภายนอกเพิ่มมากขึ้น




Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Reference
Atcharapon, P. (2019). a study of the business environment of seaweed products of
processed community enterprises Local products Ban Hat Pha Khan, Muang Chang
Sub-district, Phu Piang District, Nan Province. Journal of RMUTL Socially of Engaged
Scholarship, 3(3), 30-44.
Chanyaphak, L. (2016). Business Green Innovation Strategy in Thai Manufacturing Industry
and Testing Empirical of cause and outcome variables. Journal of BUU Research
Science and Cognitive Science, 14(2), 71-86.
Department of Agricultural Extension. (2018). Summary report of community
enterprise businesses / community enterprise networks classified by area: Chiang
Mai. Retrieved September 12, 2021, fromhttp://smce.doae.go.th/ProductCategory/
SmceCategory.php?region_id=&provinc e_id=50&hur_id=&key_word.
Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2007). Environmental
Quality Management Plan 2007-2011. Ministry of Natural Resources and
Environment.
Kosol, D. (2011). Doing Good for Society: The Power to Create a New Business. Bangkok: MGR
360.
Kalaya, N. (2016). Management to promote sustainable environmental quality of
Municipality in Samut Sakhon Province. Journal of the Association of Researchers,
21(21), 215-229.
Pattani Province Development Plan. (N.P.). Farmers Area Development Plan, Yala Province.
Santana, A. (2009). Green products for the environment. Sustainable. Journal of the
Department of Science Service, 57(179), 29-36.
Sudarat, K. (2011). Study of factors that are It is important for consumers to make
purchasing decisions for the environment.In Nakhon Ratchasima . (Master’s Thesis)
Business Administration Thesis Department of Marketing. Rajamangala University of
Technology Thanyaburi Bankkok. Bankkok.
Thichakorn, K. (2018). Strategic Development for Entrepreneurship of One Tambon One
Product (OTOP) Benjaburapha Group To the Thai-Cambodian border trade
(Aranyaprathet Checkpoint) with SWOT analysis. RMUTT Global Business and
Economics Review, 13(2), 51-66.