กระบวนการพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี : กรณีศึกษา บมจ.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “กระบวนการพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี กรณีศึกษา บมจ.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)” เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา โดยการพัฒนากระบวนการพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี ด้วยการนำศาสตร์สมัยใหม่มาบูรณาการเข้ากับหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาและพุทธสันติวิธี โดยการศึกษาว่าการพัฒนาผู้นำเพื่อให้ได้ผู้นำที่พึงประสงค์นั้นจะต้องมีกระบวนการในการพัฒนาอย่างไร โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารและพนักงานที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาผู้นำที่ทำได้จริงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ภายใต้หัวข้อเรื่อง “กระบวนการพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี กรณีศึกษา บมจ.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)” การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาบริบท และสภาพปัญหาผู้นำของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุข ตามแนวทางศาสตร์สมัยใหม่ และพุทธสันติวิธี (3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุข ตามแนวทางศาสตร์สมัยใหม่ และพุทธสันติวิธีของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีนั้น เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนาและมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงใหญ่ ๆ คือ ช่วงที่ 1 ช่วงฝึกอบรมตามกระบวนการพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี โดยพัฒนาตาม B-M-W-P-L-U-S Model เพื่อให้ผู้นำมีคุณลักษณะ คุณสมบัติ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทั้งภายนอกและภายในดังนี้ คือ (1) B - (Behavior) พฤติกรรม (2) M - (Mindfulness) สติ ขันติ (3) W - (Wisdom) ปัญญา (4) P - (Peaceful Means) Buddhist Peaceful Means สันติ/พุทธสันติวิธี (5) L - (Love & Metta) รักและมีเมตตา (6) U - (Understanding) เข้าใจในความขัดแย้ง (7) S - (Skill Sharpening) หมั่นฝึกฝนและต่อยอด ช่วงที่ 2 คือ ช่วงติดตามผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผู้นำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งกระบวนการนี้ยังสามารถพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปได้อีก โดยอาศัยการเรียนรู้จากการทดลองใช้จริง และการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนา 2) กระบวนการพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือ จากทั้งตัวผู้นำที่เข้ากระบวนการพัฒนาเอง หัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน และหน่วยงานส่วนกลางที่ทำหน้าที่พัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในกระบวนการพัฒนาที่ดีในทุกมิติ 3) จากการทดลอง Try-out กับผู้นำระดับต้นสังกัดสายงานทรัพยากรบุคคลและบรรษัทภิบาล บมจ.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ผ่านกระบวนการส่วนมากมีความพึงพอใจจากการอบรมเกินกว่า 4.70 เต็ม 5.00 หรือคิดเป็น 94.00% (ค่าเฉลี่ย = 4.75 และ SD = 0.43) ซึ่งถือว่าสูงมาก และสำหรับพฤติกรรมการทำงาน พบว่าในภาพรวมผู้เข้ารับการอบรมมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงประสงค์ดีขึ้นในทุกด้าน โดยมีคะแนนเฉลี่ยทุกด้านสูงกว่า 4.24 เต็ม 5.00 หรือคิดเป็น 84.80% (ค่าเฉลี่ย = 4.41 และ SD = 0.64) ดังนั้น ผู้วิจัยได้ค้นพบนวัตกรรมจากการศึกษาในครั้งนี้ ที่เป็นการบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ (ตะวันตก) และหลักธรรมของพระพุทธศาสนาและพุทธสันติวิธี เพื่อให้เกิดผู้นำที่เสริมสร้างสันติสุขในองค์กรและสังคมใน VUCA World โดยเกิดนวัตกรรม (Innovation) ขึ้น 4 นวัตกรรม คือ (1) ได้กระบวนการพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี (2) ได้หลักสูตร คู่มือ และเครื่องมือการพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี (3) ได้จัดฝึกอบรมพัฒนาผู้นำเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี (4) ได้ผู้นำต้นแบบด้านองค์กรสันติสุข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bass, B. M. (1990). From Transactional to Transformational Leadership: Learning to Share the Vision. Organizational Dynamics, 18(3), 19-31.
Chantradilokrat, K., Wattanapradit K., & Phramaha Duangden Thitañano. (2017). An Analytical Study of a Peaceful Organization, Take Fo Engineering (Thailand) Co, Ltd. According to Buddhist Peaceful Means. Journal of MCU Peace Studies, 5(sp1), 250-260.
Laksanapokin, N. (2019). Creating Peace Organization Indicators for the 26th Century, Buddhist Era. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and Value. New York: McGraw-Hill.
Limcharoen, K. (2019). A Process of Leadership Development for Peace According to Buddhist Integration. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Phra Dharmakosajarn (Prayoon Dhammacitto). (2006). Buddhist management approach. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra Pramote Vadakovido (Pantapat). (2019). A Model of Developing an Ideal Expert in Peace by Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya. Ayutthaya.
Phramaha Danai Upawattano (Srichan). (2015). The Model of The Organization Management for Peace: A Case Study of Wat Panyanantaram Khlongluang District, Pathumthani Province. Journal of MCU Peace Studies, 3(1), 23-36.
Phramaha Hansa Dhammahaso (Nithiboonyakorn). (2011). Buddhist peaceful means: The integration between principles and tools for conflict management. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phramaha Hansa Dhammahaso (Nithiboonyakorn). (2013). 10 Royal Virtues: 10 Indicators of organization Leader. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.