นวัตกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการบริหารนโยบายสาธารณะ ด้วยการใช้ทุนทางวัฒนธรรม ของเทศบาลตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อถอดประสบการณ์การบริหารนโยบายสาธารณะด้วยทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2. เพื่อสรุปองค์ความรู้การใช้ทุนทางวัฒนธรรมในฐานะนวัตกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการบริหารนโยบายสาธารณะ ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน
ผลการวิจัยพบว่า ทุนทางวัฒนธรรมในเขตเทศบาลตำบลพุมเรียงมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันไปในพื้นที่การศึกษา ซึ่งมีการนำทุนทางวัฒนธรรมไปทำโครงการต่าง ๆ ที่สามารถพัฒนาในลักษณะที่ดีขึ้น ได้แก่ ลักษณะของวัฒนธรรม การตั้งถิ่นฐาน ทรัพยากร ความเชื่อความศรัทธา ศาสนา รวมถึงการสัมผัสได้ถึงความเป็นสุนทรียภาพ ได้แก่ 1.การบริหารนโยบายสาธารณะด้วยทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลพุมเรียง พบว่า สามารถเป็นการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นการขับเคลื่อนเชิงนโยบายของชุมชนเป็นตัวบ่งบอกถึงปัญหาสภาพทางสังคม และกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านการสื่อสารที่รับรู้เพียงบางส่วน เพราะเนื่องจากกลุ่มคนในชุมชนยังมีความล้าหลังทางด้านเทคโนโลยีที่นำมาพัฒนาชุมชน 2. องค์ความรู้การใช้ทุนทางวัฒนธรรมในฐานะนวัตกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการบริหารนโยบายสาธารณะ พบว่า 1.การสร้างความร่วมมือของชุมชนในการใช้ทุนทางวัฒนธรรมมาร่วมกันแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ 2.การออกแบบพื้นที่ในการกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนงานทางการเมืองที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงผลการพัฒนาในการนำทุนทางวัฒนธรรมเข้ามาใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ 3. เสนอแนวคิดความคิดต่อการจัดการทางการเมืองทั้งนี้ยังเป็นผลในการที่จะมีอิทธิพลต่อการเลือกนโยบายสาธารณะหรือต่อการเลือกผู้นำที่มาพัฒนา 4.ต้องมีกระบวนการแบบแผนการปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อความเลื่อมล้ำ ได้แก่ ด้านการมีเสรีภาพในการปกครองตนเอง ตระหนักในอำนาจอธิปไตยของตนเอง ด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่พลเมืองและต้องตระหนักได้ว่าการทำหน้าที่ของตนอย่างตื่นตัว รู้เท่าทัน และใช้ปัญญาเพื่อการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับภาครัฐและการเมืองระบบตัวแทน จึงต้องมีกระบวนการพัฒนาที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการสร้างการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาศักยภาพได้เกิดการเปลี่ยนแปลงและนำมาจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนที่หลากหลายมุมมอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bentham, J. (1789). Principles of Morals and Legislation. Retrieved May 3, 2020, from https://www.econlib.org/library/Bentham/bnthPML.html
Bourdieu, P. (1986). The Form of Capital. In J. G. Richardson (Ed.), Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education. New York: Greenwood Press.
Cochran, C. L., & Malone, E. F. (2005). Public Policy: Perspective and Choices. (3rd ed.). London: Lynne Rienner.
Foundation of Thai Cultural’s Encyclopedia. (1999). Encyclopedia of Thai Culture in South Volume 11. Bangkok: Siam Press Management Limited Company.
Kraft, M. E., & Furlong, S. R. (2004). Public Policy: Politics, Analysis, and Alternatives. Washington, D.C.: CQ Press.
Kuaduang, J. (2005). Conservation of Phumreang Old Urban Community, Suratthani Province. (Master’s Thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.
Lasswell, H. D., & Kaplan, A. (1970). Power and Society.New Haven: Yale University Press.
Nongnuchanatee, P. (2016). Research Report on Woven Product Packaging Design. (Research Report). Chiang Mai: Rajamangala University of Technology Lanna Payap Region.
Osborne, S. P., & Brown, K. (2005). Managing Change and Innovation in Public Service Organizations. New York: Routledge.
Patmasiriwat, D. (2004). A Survey of the Status of Knowledge and the Development of Cultural Capital and Local Knowledge to Human Resource Development: Progress Report of the First Study. (Research Report). Phitsanulok: Faculty of Management and Information Science, Naresuan University.
Piyaphong, B. (2015). Building Cooperation in Local Management: Exploring Practices in the Northeast. Bangkok: Research Fund Office.
Throsby, D. (2001). Economy and Culture. Cambridge: The Press Syndicate of the University of Cambridge.
Woranat, P. (2017). Senior School Perspectives according to the Local Community Context in Surin. (Master’s Thesis). Boromarajonani College of Nursing Surin. Surin.