รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงอย่างยั่งยืน: ศึกษากรณีอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พรชนก เธียรกิตติ์ธนา
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการและความพร้อมในการพัฒนา การท่องเที่ยวเกษตร 2) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบลงพื้นที่โดยการจัดสานเสวนาเชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจงที่มีลักษณ์เฉพาะข้อมูลสำคัญในระดับลึกแล้วนำมาวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 7 ด้าน ได้แก่ภัยแล้ง โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม พืชผลทางการเกษตร ความยากจน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับ การพัฒนา พบว่าความพร้อมในพื้นที่จึงมีต้นแบบมาจาก ร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธ “นักสู้ผู้สร้างป่า” และความต้องการที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จำนวน 11 พื้นที่ ได้นำวิทยาการสมัยใหม่ “โคก หนอง นา โมเดล” ผสานเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านการเกษตร 2) การพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงอย่างยั่งยืนในพระพุทธศาสนาเถรวาท ได้นำหลักภาวนา 4 กับวิทยาการสมัยใหม่มาเป็นกรอบ พบว่าเกษตรกรในพื้นที่มีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน เรียกว่าสันติภาวนา ได้แก่ ด้านความเต็มใจทำ ด้านความร่วมใจทำ ด้านความตั้งใจทำ และด้านความเข้าใจทำ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนา 7 ด้าน คือ PRANGKU MODEL ประกอบด้วย Peace People กลุ่มเกษตรกรมีความสุข Relationships ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน Action การทำกิจกรรมร่วมกัน No Poverty ปราศจากความยากจน Good Health ความเป็นอยู่ที่ดีสุขภาพดี Knowledge ศูนย์แห่งการเรียนรู้ Unity ความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียว โดยนำโมเดลมาบูรณาการ กับหลักภาวนา 4 และสันติภาวนา องค์ความรู้ใหม่เรียกว่า PRANGKU MODEL Peacefulness Maps คือเส้นทางการท่องเที่ยวแบบสันติสุขเชิงเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Arunsrimorakot, S.et al. (2016). The 17 Sustainable Development Goals of the United Nations for the Future. Thai Interdisciplinary Research Journal, 11(3), 1-7.

Government Gazette. (2018). National Strategy (B.E. 2561-2580). Retrieved May 3, 2020, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF

Hinsui, J. (2014). Guidelines for promoting Buddhist tourism Wat Prachakhomwanaram Sisomdet District Roi Et Province. Journal of International Thai Tourism Studies, 10(1), 50-58.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Ministry of Tourism and Sports. (2018). National Tourism Development Vol. 2 (2017-2021). Retrieved March 5, 2020, from http://www.dpe.Go.th/content/file.

Maneerat, S., & Chalermphol, J. (2017). Appropriate Agro-tourism Management Model of Mae Rim-SamoengRoute in Mae Rim District, Chiang Mai Province. KHON KAEN AGR. Journal, 45(Supplement), 540-544.

Na Songkhla, T. (2013). Model of Agricultural Resource Management Model for Sustainable Agricultural in Changklang District} Nakhon Si Tammarat Province. (Doctoral Dissertation). Prince of Songkla University. Songkhla.

Phra Sutee Rattanabundit, (2017). Religious and cultural tourism: policy impact and network management for promote consciousness of histories and culture in ASEAN community. Bangkok: Thailand Science Research and Innovation.

Phrapalat Adisak Vajirapañño (Pimnon). (2019). Development on Model of Tourism Management in Sustainable and Peaceful way: A Case Study of Wat Baan Khayung, Huaytaamon Sub-district, Phusing District, Sisaket Province. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramaha Hansa Dhammahaso. (2020). Two farms can be developed into a Khok Nong Na. Sisaket: Article from Khok Nong Na Peace Studies Model.

Thienkitthana, P. (2004). Agricultural Tourism Management: A Case Study of Bang Rak Noi Subdistrict Nonthaburi Province. (Master’s Thesis). Mahidol University. Nakhon Pathom.

Somboonthawee, K. et al. (2017). Tourism innovation in the case of a study of the agricultural tourism attraction "Rai Pluk Rak" Ratchaburi Province. National Conference of Social Sciences "Security of Thai society in the 21st century. 13th time. Chiang Rai Rajabhat University.

Voice online, (2019). The 7 provinces in the northeast still face drought ‘Khong river is dry – the reservoir has no water’. Retrieved January 29, 2021, from https://voicetv.co.th/read/UepS_-BEb.

In-depth interview. (2020). A Model for the Development of Organic Agricultural Tourism Based on Sustainable Sufficiency: A Case Study of Prang Ku District, Sisaket Province. July 27th. Sisaket Province.