การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยบูรณาการกับการรักษาศีล 5 ในวิชาพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พีรวิชญ์ พาณิชย์วรกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยบูรณาการกับการรักษาศีล 5 ในวิชาพระพุทธศาสนา 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยบูรณาการกับการรักษาศีล 5 ในวิชาพระพุทธศาสนา 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยบูรณาการกับการรักษาศีล 5 ในวิชาพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการวิจัยเชิงทดลอง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม จำนวน 24 ท่าน การสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน และการทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” จำนวน 30 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า


1. นักเรียนขาดความเข้าใจในการเรียนวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และยังขาดแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ในวิชาพระพุทธศาสนา


2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยบูรณาการกับการรักษาศีล 5 ในวิชาพระพุทธศาสนาจะต้องใช้วิธีการศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา การอธิบาย ทำความเข้าใจ การทำการทดลอง และปฏิบัติ 


3. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยบูรณาการกับการรักษาศีล 5 ในวิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีก็ต่อเมื่อมีการจัดการเรียนการสอนที่ประกอบด้วยวิธีการดังนี้ 1) มีการอธิบายเนื้อหาจากง่ายไปยากเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง 2) มีการปฏิบัติทำการทดลองเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเห็นภาพจากการศึกษาของจริง และ 3) มีการบูรณาการกับวิชาต่าง ๆ เพื่อเสริมความเข้าใจให้มากขึ้น และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chayanuwat, A. (2011). Concept and Learning Process. Nakhonsithammarat: Dechai Printing Co., Ltd.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka the Issue of Mahachula longkornrajavidyalaya. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing House.

Ministry of Education. (2017). National Education Plan 2017 - 2036. Bangkok: Prikwan Graphic Co., Ltd.

Office of the National Education Commission. (2010). The National Education Act 1999 Amended. Additional (No. 2) B.E. 2545 and (No. 3) 2010. Bangkok: Organization of Shipping and Logistics Package (GSP).

Phamaha Yothin Yodhiko. (2016). Human Quality Development According to the Five Precepts. Khon Kaen: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Campus.

Phrakhrusophonsarophat. (2018). A Participative Learning Management Model in Promoting the Five Precepts in Schools Under Primary Education Service Area Office. Journal of MCU Peace Studies, 6(4), 1389-1401.

Phrasuwanmahaputhtapiban. (2020). Learning Management Model on the Five Precepts for Primary School Students. Journal of Education, Periscope of MCU, 7(1), 1-14.

Prasert Sin, A. (2017). A Study of Educational Innovation Management Approach to Be Used in Development of Teaching and Research by Teachers. Journal of Library Science SWU. 10(2), 78-88.

Robinson, S. G. (2000). Teacher Job Satisfaction and Levels of Clinical Supervision in Elementary Schools, Dissertation Abstracts International. 61-06(A).

Thailand Development Research Institute (TDRI). (2016). Proposal on System Reform Thai Studies. Retrieved August 15, from http://www.tdri.or.th/wp-content/uploads/2014/06 /wb103.pdf.

Vorakhamin, D. (2016). In Thinking and Public Minding to Develop the Potential of Being Good and Talented of Thai Students. Bangkok: Prikwan Graphic Co., Ltd.