รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL)

Main Article Content

พีรวิชญ์ พาณิชย์วรกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” 2) พัฒนาการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) 3) นำเสนอการพัฒนาผลสำฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” จำนวน 40 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก


         ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง ทั้งทางสรีระวิทยา ทางกายวิภาคศาสตร์ และเกณฑ์การจัดจำแนกสัตว์มีกระดูกสันหลัง 2) รูปแบบพัฒนาการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์มีกระดูกสันหลังมากขึ้น 3) รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้และจดจำได้ดีเมื่อใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ คือ การคิดวิเคราะห์ การสังเกต  การฟัง การสัมผัส  การพูดอธิบาย และความสนใจ ยิ่งมีการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ มาก นักเรียนจะยิ่งมีความเข้าใจ และจดจำได้ดีขึ้น

Article Details

How to Cite
พาณิชย์วรกุล พ. (2022). รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL). วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1534–1544. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/250137
บท
บทความวิจัย

References

Reference
Caine R.N., Caine G., and others. (2008). 12 brain/mind learning principles in action. CA: Corwin Press.
Chet Sirisawat. (2013). “Teaching to think and create science projects by learning to create with wisdom.” Journal of Education Science 24, 1 (October - January): 1-15.
Doungjun Vorakamin, Pangpond Rakamnuaykit, and Yosawee Sanfa. (2016). In thinking and public minding to develop the potential of being good and talented of Thai students. Full research report Research Fund (TRF).
Maslow, Abraham H (1954). Motivation and personality. New York: Harper and Row. p. 92. 2019-12-24.
Office of the Basic Education Commission Ministry of Education. (2014). Annual Report 2013. Bangkok: Religion Publishing House.
Paweena Wichanee, Chade Sirisawat, Saponnapat Srisanyong, Luckmongkol Thavornna, (2016). A study of learning achievement biology on “Kingdoms of Life” by using brain - based learning (BBL) with games for matthayomsuksa 4 students. Veridian E-Journal, Silpakorn University
Piyabuth Subsukon and Tadsanee Punjanon. (2019). The Development of Learning Achievement by Using Cooperative Learning by TGT Technique on the Topics of Flowering Plant Form and Function in 11th Grade Students. Department of Science Teaching, Suryadhep Teachers College, Rangsit University, Pathum Thani, Thailand