กระบวนทัศน์นิเวศวิทยา: ความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรป่าอย่างยั่งยืนของชุมชนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบกระบวนทัศน์นิเวศวิทยาความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรป่าอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคีตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เอกสาร ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปผลตามแบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบกระบวนทัศน์นิเวศวิทยาในเรื่องความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรป่าอย่างยั่งยืนของบ้านห้วยสะพานสามัคคี ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี มีลักษณะสำคัญ 4 ด้านคือ 1. ด้านการบริหารจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ต้องได้รับความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรป่า ของ ผู้นำชุมชน วัด โรงเรียน เยาวชน และชาวบ้าน 2. ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนใช้ชีวิตตามวิถีชุมชนมีการพึ่งพาธรรมชาติ โดยรวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จำหน่ายแกประชาชนทั่วไปทำให้ไม่ไปตัดไม้ทำลายป่า เพื่อสร้างป่าสมบูรณ์ในการอนุรักษ์ป่าชุมชนให้ยั่งยืนแก่ชุมชน 3. ด้านสังคม การจัดการป่าชุมชนเป็นมิติที่มีการดำเนินงานที่ต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาไม่มีสูตรสำเร็จหรือรูปแบบในการจัดการที่ตายตัว แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถชี้วัดความสำเร็จของการจัดการ คือการส่งมอบภารกิจในการจัดการป่าจากคนรุ่นบุกเบิกสู่คนรุ่นใหม่ 4. ด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการใช้ประโยชน์โดยนำภูมิปัญญาและองค์ความรู้มาใช้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี การใช้ประโยชน์ด้านการเป็นแหล่งอาหาร
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chaiphan, C. (1999). Agriculture, Natural Resources and Tourism Management. Bangkok: Chulalongkornrajavidyalaya Printing House.
Dabjan, N. (2020). Enriching the Hostel Customer Behavioral Study. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 4(1), 69-87.
Kumsup, K. (2015). Community natural resource management: case study of community forest, Ubon Ratchathani. (Master’s Thesis). Ubon Ratchathani University. Ubon Ratchathani.
Mangkornkaewwikul, S., & Siriwatthanakul, S. (2020). Problems in Implementation of Public Policy of Local Government Organization: A Case Study of Sao-cha-ngok Sub-district Administration Organization. Journal of Arts Management, 4(2), 205-222.
Marpue, S. (2013). Use mindfulness to apply. To solve doing work Employees of Electricity Generating Authority of Thailand. (Master’s Thesis). Graduate School: Mahachulalongkorn University. Ayutthaya.
Ministry of Environment and Forest, Government of India. (2011). Report to the people on environment and forests 2009-2010. New Deli: Ministry of Environment and Forest.
Panthasen, A. (1996). Thai Rural Development: Somuthai and Mak of Hope New Solutions and Alternatives. Bangkok: Amarin Company Printing and Publishing.
Peuchthonglang, Y., Kanjina, M., & Peuchthonglang, P. (2020). The Tourist Recreation Area Management for Mobility Impaired Persons in Chiangmai Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(2), 183-194.
Phathong, P. K., Phrarajrattanarongkorn, Kenaphoom, S., & Damnoen, P.S. (2020). The Water and Environmental Resource Management in the Suay River Basin Area by the Integration of Local Knowledge to Support Sustainable Agriculture in Nong Khai Province, Thailand. Solid State Technology, 63(2s), 1909-1915.
Phuangngamchuen, J., Trirat, S., & Rungkawat, N. (2013). Development of a model of public participation in community forest management: a case study at Ban Thapa Pao, Tha Pladuk Sub-district, Mae Tha District, Lamphun Province. Chiang Mai: Mae Jo University. KMUTT Research and Development Journal, 36(2), 215-234.
Puthong, D. (2018). The Community Forest Management for Sustainability Using Process of Public Participation and Loval Tradition in Northern Thainland Region. Journal of Administrative and Management, 6(2), 80- 94.
Pyo, N. H. L. (2020). The Application of Stimulus-Organism-Response (SOR) Theory for Studying Workforce Contributions in the Pineapple Factories in Chiang Rai. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 4(2), 88-102.
Ruangpanich, N. (1990). Conservation of Resources and Environment, a Manual for Teaching and Training. Bangkok: Siam Alphabet Typography.
Saengchan, P., Pengpae, S. & Mirasing, V. (2014). Chandrakasem Rajabhat University Journal, 20(39), 19-28.
Snongtaweeporn, T., Siribensanont, C., Kongsong, W., & Channuwong, S. (2020). Total Quality Management in Modern Organizations by Using Participation and Teamwork. Journal of Arts Management, 4(3), 818-829.
Sukwong, S. (2007). Community Forest Management: For People and For Forests. Bangkok: Thaweewat Printing Company.
Tan. C.C, Damnoen, P.S., Toprayoon, Y. (2020). An Exploratory Study of the Spirituality – Oriented Experiences of Tourists. International Journal of Advanced Science and Technology, 29(7), 2478- 2484.
Worrakawin, K., Wongmontha, S., Na Thalang, C., & Rattanapongtara, T. (2020). Creativity for Perceptual Tourism in Sandstone Geomophology of Pa-Tam and Sam-Pan-Bok Geologic Park, Ubon Ratchathani Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(2), 156-169.