ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

Main Article Content

สุวัทนา สงวนรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัย เป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรที่เรียนใช้แผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน ประชากร คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ที่เรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน จำนวน 10 แผน แบบประเมินผลงานของผู้เรียนและเกณฑ์การประเมินและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยด้วยรูปแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว สอบก่อนและหลังเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test


        ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมแผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.56/80.83 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้ การวิจัยเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.65)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kaewkongpan, D. (2017).Research Based Learning: RBLin the local science courses Lampang Rajabhat University. Retrieved February, 15, 2020 from http://www.3.ru.ac.th.

Kidd, J. R. (1973). How Adults Learn. New York: Association Press.

Khamdit, S. (2014). Research – Based Learning (RBL) in Higher Education. Suthiparithat journal, 28, 10-21.

Khemmani, T. (2012). Pedagogical Science: Knowledge for effective learning process. (13rd ed.). Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.

Office of the Education Council Ministry of Education. (2019). National Education Standards of 2018. Bangkok: Publisher Type 21 Century Company Limited.

Office of the Higher Education Commission. (2009). Thai Qualifications Framework for Higher Education. Bangkok: Publisher of Kurusapa Printing Ladphrao.

Phetkliang, F. (2016). The Effects of the Use of Research - Based Learning Model in a Course of Education for Sustainable Development. Retrieved February, 14, 2020 from http://edujournal.bsru.ac.th/publishes/4/articles/124.

Sinlarat, P. (2012). Principles and Techniques of Tertiary Education. (3rd ed.). Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.

Teesuka, P. (2013). The development of teaching model: curriculum development course by using research-based learning approach for pre-service teachers.Retrieved February, 14, 2020 from www.thapra.lib.su.ac.th.

Viphatphumiprathes, T. (2014). Effects of Research-Based Learning on Undergraduate Students’Knowledge of ASEAN Culture. Journal of Education Naresuan University, 16(1), 54-61.

Yamareng, U. (2017). The Instruction by Research-Based Learning (RBl) on Curriculum and Instruction in Islamic education Coursein Master of Education Program in Teaching Islamic Education 2559. Research reportYala RajabhatUniversity. Retrieved February, 15, 2020 from http://wb.yru.ac.th/bitstream/yru/450/1.