แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมที่พักแรม จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ศุภกิจ ดวงไพสิฐ
เสรี วงษ์มณฑา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ที่พักแรมจังหวัดราชบุรีในปัจจุบัน
2) เพื่อศึกษาปัญหาที่พักแรมจังหวัดราชบุรี และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมที่พักแรม
จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ภาครัฐและภาคเอกชน ผู้แทนจากสถานประกอบการโรงแรม ผู้แทนชุมชน (ผู้นำชุมชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดราชบุรี) และนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม จำนวนทั้งสิ้น 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ที่พักแรมจังหวัดราชบุรีในปัจจุบัน การส่งเสริมและสนับสนุน
ในการประชาสัมพันธ์หรือการโปรโมทสถานที่พักแรมยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก และด้านความปลอดภัยในบริเวณสถานที่พักแรมและสถานที่ใกล้เคียงยังมีปัญหาอยู่ 2) ปัญหาของที่พักแรมในจังหวัดราชบุรี พบว่า การบริการที่ต้องมีการดูแล ควบคุมกำกับ และติดตามปัญหาของกิจการที่พักแรม โดยเป็นการให้   ความช่วยเหลือ รวมถึงด้านสาธารณูปโภคต้องมีการติดตามและดูแลในเรื่องของสาธารณูปโภคอย่างมาก โดยเฉพาะมาตรการความปลอดภัยต้องมีการติดตามปัญหาหรือคอยดูแลความเรียบร้อย เพื่อความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยว และ 3) แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมที่พักแรมในจังหวัดราชบุรี ควรส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจภายในจังหวัดให้มีความคล่องตัว พัฒนาเรื่องรักษาความปลอดภัย                 โดยการส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจพื้นที่เป็นระยะ ๆ ในบริเวณพื้นที่ของที่พักแรมหรือพื้นที่ใกล้เคียง การส่งเสริม  ในด้านสาธารณูปโภคให้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ในส่วนของการดูแลและบริหารจัดการในด้านของสิ่งปลูกสร้างของที่พักให้พัฒนาไปในทางที่ดี รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวยังต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อสร้างความประทับใจในการกลับมาพักแรมหรือท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรีต่อไป

Article Details

How to Cite
ดวงไพสิฐ ศ., & วงษ์มณฑา เ. (2022). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมที่พักแรม จังหวัดราชบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1585–1597. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/249855
บท
บทความวิจัย

References

Reference
Chuaphung, B. (2017). Hotel services management for Thai elderly tourists staying
at Phranakhonsi Ayutthaya province. (Master's thesis). University of Phayao, Phayao.
Chusorn and Atiwetin. (2015). The guidelines of service quality improvement for guesthouses and restaurants in Khoasarn road area. Srinakharinwirot Business Journal. 6(2).47-61.
Jentrakulroj, W. (2017). Design g uidelines for ecologically resort : A case study of DHAMAJATI resort, Sri-Nakarin dam, Kanchanaburi province. (Master's thesis). Silpakorn University, Bangkok.
Poomwaramunee, S. (2018). Guidelines for the promotion of cultural tourism marketing
in Nakhon Phanom province. Dusit Thani College Journal, 13(1), 184-201.
Pornprathavej, T. (2015). Development of Small hotel for promotion cultural tourism : A case study of renovating shophouse in the Urban district of Ratchaburi province. (Master's thesis). Thammasat University, Bangkok.
Ratanaworakarn, N. (2018). Local Administrative Organization and Legal Measures for Tourism Promotion. ROMPHRUEK JOURNAL : KRIRK UNIVERSITY, 36(3), 179-202.
Ratchaburi Province Development Plan. (2020). Ratchaburi Province Development Plan
2018-2021. Retrieved December 29, 2020, from http://www.harvardasia.co.th/.