ทิศทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ของสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572)

Main Article Content

ประกิต บุญมี
บุญมี เณรยอด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอทิศทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) เป็นการวิจัยเชิงอนาคต โดยใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 7 ขั้นตอน คือ (1) กำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (2) กำหนดประเด็นแนวโน้มและสร้างเครื่องมือการวิจัย (3) การทำ EDFR รอบที่ 1 จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 20 คน (4) รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทำ EDFR รอบที่ 1 (5) ทำ EDFR รอบที่ 2 และ 3 จากแบบสอบถามและแนบข้อมูลป้อนกลับเชิงสถิติ เพื่อหาฉันทามติ ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (6) เขียนภาพอนาคตทิศทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยควอไทล์ และ (7) สรุป เสนอแนะ และนำเสนอเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป


ผลการวิจัยพบว่า ทิศทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) ตามฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ (Median≥ 3.50, interquartile range≤1.50) สรุปว่ามีทั้งสิ้น 70 แนวโน้ม โดยแยกองค์ประกอบได้ทั้งสิ้น 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการประเมินหลักสูตร ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านนักศึกษา และด้านสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน

Article Details

How to Cite
บุญมี ป., & เณรยอด บ. (2022). ทิศทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ของสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572). วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1560–1573. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/249688
บท
บทความวิจัย

References

Jaiharn, N. (2018). Law and Jurists in Thailand 4.0. Retrieved April, 10, 2018, from https://siamrath.co.th/n/ 24773.
Khemmanee, T. (2002). The Philosophy of Teaching. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Malaiwong, K. (1997). IT Perspective. (2nd). Bangkok: National Electronics and Computer Technology Center.
Phatphol, M. (2015). Curriculum Assessment for Learning and Development. (3rd). Bangkok: Charansanitwong Printing Co., Ltd.
Phinthupha, H. (n.d.). Introduction to Educational Administration. Srinakharinwirot University. Retrieved July, 10, 2018, from facstaff.swu.ac.th.
Rovinelli, R.J. (1976). Methods for Validating Criterion-Referenced Test Items. Unplblisded Doctoral Dissertation. University of Massachusetts Amherst. October, 20, 2020, from https://scholarworks.umass.edu/cgi/viewcontent.cgi?referer=https://www.google.Co.th/&httpsredir=1&article=4661&context=dissertations_1.
Sinlarat, P. (2014). Principles and Methods of Teaching at Higher Education. (6th Ed.) Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Kraisakul, S (2019). The Instructional Management of Higher Education Intuitions in the Next Decade (B.E. 2563-2572). [Boonmee, P]. Interview Date December, 10, 2019.
Wongyai, W. (2011). The Curriculum Development of Higher Education. (2nd) edition. Bangkok: R & Print.
Wonganutarot, P. (2010). Academic Administration. Bangkok: Educational Promotion Center.
Mokkranurak, D. (2011). The Scenario of Vocational Education During the Next Decade (2011-2021). Dissertation Doctor of Philosophy (Educational Administration). Graduate School Khon Kaem University.