ศักยภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดระยอง

Main Article Content

ฉลาด ภู่ระหงษ์
มาลี ไชยเสนา
กุลชญา ลอยหา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดระยอง เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดระยอง จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดระยอง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 77.5) อายุระหว่าง 36 - 45 ปี (ร้อยละ 67.5) ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 1-5 ปี (ร้อยละ 65.0) ประกอบอาชีพเกษตร (ร้อยละ 80.0) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 77.5) และได้รับคัดเลือกเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยการเสนอตัวเอง (ร้อยละ 77.5) และพบว่าศักยภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดระยองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.49) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการป้องกันโรคอยู่ในระดับสูงสุด (ค่าเฉลี่ย 3.55) รองลงมาคือด้านการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสาร (ค่าเฉลี่ย 3.52) ด้านการส่งเสริมสุขภาพ (ค่าเฉลี่ย 3.50) และด้านการรักษาสุขภาพ (ค่าเฉลี่ย 3.46) ตามลำดับ สำหรับด้านการฟื้นฟูสุขภาพ (ค่าเฉลี่ย 3.44) อยู่ในระดับต่ำสุด และพบว่าการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ การพัฒนาการปฏิบัติงาน การพัฒนาความรู้ การพัฒนาการมีส่วนร่วม และการพัฒนางานสาธารณสุขชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonyasit, P. (2016). Factors Related to Performance Effectiveness of Special Village Health Volunteers in Mueang District, Suphan Buri Province. (Master’s Thesis). Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi.

Chuengsatiansup, K., & SuksutHealth, P. (2007). Volunteers in the Context of Change: Potential and Developmental Strategies. Journal of Health System Research, 1(3-4), 268-279.

Development of civil servants according to the main competencies. (2010). Civil Service Development Institute Office of the Development of Position and Compensation System. Nonthaburi: Office of the Provincial Custody.

Kulwimol, P. (2016). Assessment of Village Health Volunteers’ Performance in Health Management Villages in Ta Phraya District, Sa Kaeo Province. (Master’s Thesis). Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi.

Phochai, B. (2007). Performance of Public Health Volunteers In the public health work Khao Suan Kwang District Khon Kaen Province. Khon Kaen: Khon Kaen University.

Sangjane, S. (2017). Factors Affecting the Performance of Primary Health Care among Migrant Health Volunteers in Krathum Baen District, Samut Sakhon Province. (Master’s Thesis). Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi.

Srichum, S. (2017). Roles and Duties of Village Health Care Volunteers base on Public Perceptions and Expectations in Samed Sub-district, Chon Buri Province. (Master’s Thesis). Burapha University. Chon Buri.

Sudprasert, C. (2017). The Relationship between Motivation and Role on Working As The Village Health Volunteers: District Municipality H.P.R. Kraburi, Ranong. (Master’s Thesis). Suratthani Rajabhat University. Suratthani.

Wikol, R. (2017). Factors Related to Health Promotion Behaviors of Village Health Volunteers in Selaphum District, Roi-Et Province. (Master’s Thesis). Ramkhamhaeng University. Bangkok.