วิเคราะห์แบบเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของไทย ในระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) – 12 (พ.ศ.2560-2564)

Main Article Content

ปริญญา มงคลพาณิชย์
ชลิดา จูงพันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องของเนื้อหาและพัฒนาการของแบบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของไทยกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) - 12 (พ.ศ.2560-2564) โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารจากการรวบรวมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแบบเรียน 18 เล่ม จาก 3 สำนักพิมพ์ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างเกณฑ์การวิเคราะห์ขึ้นมาจากการพิจารณาลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยที่ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 – 12 เป็นหลัก รวมถึงเอกสารประกอบอื่น ๆ ได้เกณฑ์ที่จะนำมาพิจารณาแบบเรียน 10 ข้อ ได้แก่ 1. การส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา 2. การส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม 3. การพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตระหนักถึงภัยธรรมชาติ 4. การส่งเสริมวัฒนธรรมภูมิปัญญา 5. การบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 6. การนำเสนอสิ่งที่ทันสมัย ใกล้ตัวผู้เรียน 7. การเตรียมความพร้อมสู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 8. การส่งเสริมความปลอดภัยทางเทคโนโลยี 9. การส่งเสริมการหาความรู้เพิ่มเติมจากท้องถิ่น 10. การยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่แบบเรียนทุกเล่มมีเหมือนกันมากที่สุดคือ การส่งเสริมการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา แต่สิ่งที่แบบเรียนแต่ละเล่มแตกต่างกันคือ จุดเน้นในลักษณะอื่น ๆ เช่น การส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม การส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น การยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือการเรียนรู้แบบ บูรณาการ เป็นต้น อีกทั้งบางลักษณะจะพบเฉพาะในแบบเรียนของบางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น


ผลการวิจัยพบว่า แบบเรียนในแต่ละช่วงเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน บางเล่มเน้นการนำเสนอประเด็นวิทยาศาสตร์ผ่านสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญ ในขณะที่บางเล่มอาจให้คุณค่ากับเรื่องการพัฒนาทักษะผ่านกิจกรรม คุณลักษณะแต่ละอย่างจะพบมากน้อยแตกต่างกันไปตามรูปแบบและแนวทางการผลิตแบบเรียนของแต่ละสำนักพิมพ์ในแต่ละช่วงเวลา ผู้สอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์สามารถตัดสินใจเลือกใช้แบบเรียนที่มีตรงกับจุดประสงค์ของการพัฒนาประเทศได้ตรงกับที่ภาครัฐสนับสนุน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Changkwanyuen, C. (2007). Techniques for Writing and Producing Textbooks. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Jiamwilak, R. (2018). Thai Textbook Study Phasaphati: Consistency with Strategy 1 Strengthening and Developing Human Capital Potential in the Twelfth National Economic and Social Development. Journal of Liberal Arts, 18(2), 26-54.

Chuaypu, M. (2009). A Comparative Analysis of Science Instructional Approaches and Textbook Characteristics at the Elementary School Level Before and After the Education Reform. (Research). Faculty of Education. Chulalongkorn University.

National Science and Technology Development Agency. (2012). Strategic Plan of National Science and Technology Development Agency. National Science and Technology Development Agency.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). 12th National Economic and Social Development. N.P.: n.p.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2011). 11th National Economic and Social Development. N.P.: n.p.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2006). 10th National Economic and Social Development. N.P.: n.p.

Office of the Prime Minister. (2017). Thailand’s 20 Year National Strategy. Bangkok: Office of the Prime Minister.

Sangsri, N. Kanchanachatri, S. Fai kamta, C., & Suwanruji, P. (2012). Analysis of Questions in Science Textbooks Lower Secondary School Level. Srinakharinwirot Research and Development, Humanities and Social Sciences, 7(4), 33-41.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2013). [Report of the year 2013]. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology.

UNESCO. (2007). A Comprehensive Strategy for Textbooks and Learning Materials. France: UNESCO.

UNESCO. (2010). UNESCO Guidebook on Textbook Research and Textbook Revision. Langenhagen: Popdruck.

Wattanasomsri, S., Peerapan, N., & Dansirisuk W. (2017). A Study of the Composition and Efficiency of Digital Books According to Skill of the Self-Learning of Students in Primary Education. Journal of Educational, 18(2), 142-158.