การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการศูนย์เครือข่าย สมศ.

Main Article Content

สรรชัย ชูชีพ
ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์
สาวิตรี จูเจี่ย
ชวลิต ศุภศักดิ์ธำรง
สหัสชัย ปราณีตพลกรัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการศูนย์เครือข่าย สมศ. เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้บริหารและเลขานุการของศูนย์เครือข่าย สมศ. ทั้ง 13 แห่ง รวม 26 คน และผู้ประสานศูนย์เครือข่ายจาก สมศ. จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ สำหรับแบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการศูนย์เครือข่าย สมศ. ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม มีจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านการบริหารจัดการ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) การดำเนินงานศูนย์เครือข่าย สมศ. มีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานประจำ ด้านการดำเนินงานเชิงรุก ด้านการประสานความร่วมมือ และด้านการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย 3) การประเมินผลการดำเนินงานและการพัฒนา มีจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการประเมินผลการดำเนินงาน และด้านการร่วมมือกันระหว่างศูนย์เครือข่าย สมศ. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน

Article Details

How to Cite
ชูชีพ ส., วชิรปัญญาพงศ์ ศ., จูเจี่ย ส., ศุภศักดิ์ธำรง ช., & ปราณีตพลกรัง ส. (2021). การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการศูนย์เครือข่าย สมศ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1513–1525. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/249540
บท
บทความวิจัย

References

American Association of School Administrators (AASA). (1955). Staff Relations in School Administration. Washington, D.C: Thirty-third Yearbook.

Deming, W. E. (1993). The new economics. Cambridge, MA: Massachusetts Institute of Technology. Center for Advanced Engineering Study.

Fayol, H. (1961). General principles of management. Classics of organization theory, 2.

Gregg, R. T., & Campbell, R.F. (1958). Administrative Behavior in Education. New York: Harper and Row.

Robbins, S. P. (1980). The administrative process. United States: Prentice-Hall.

The Office for National Education Standards and Quality Assessment. (2019). The background of the operation of the establishment of the ONESQA Network Center. Bangkok: ONESQA.

_______. (2019). The memorandum of understanding for the development of quality assurance between ONESQA and Thepsatri Rajabhat University. Bangkok: ONESQA.