รูปแบบการการพัฒนาครูมืออาชีพระดับประถมศึกษา

Main Article Content

สกุณา บุญรอดรัมย์
ศรีเพ็ญ พลเดช
โกวิท วัชรินทรางกูร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของครูมืออาชีพระดับประถมศึกษา 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาครูมืออาชีพระดับประถมศึกษา และ 3) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูมืออาชีพระดับประถมศึกษา โดยมีดำเนินการ 3 ระยะ ประกอบด้วยระยะที่ 1 ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของครูมืออาชีพระดับประถมศึกษา ประชากรคือครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1-4 ปีการศึกษา 2562 จํานวน 11,551 คน กลุ่มตัวอย่างจํานวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูมืออาชีพระดับประถมศึกษา ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบครูมืออาชีพระดับประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพที่พึงประสงค์ของครูมืออาชีพระดับประถมศึกษา ในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.28, S.D = 0.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน (gif.latex?\bar{x} = 4.47, S.D = 0.69) รองลงมาคือ การพัฒนาสร้างสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ (gif.latex?\bar{x}= 4.43, S.D = 0.60) ส่วนการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (gif.latex?\bar{x} = 4.06, S.D = 1.04) 2. รูปแบบการพัฒนาครูมืออาชีพระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยการสร้างระบบพี่เลี้ยงและการนิเทศแบบคลินิกที่นำมาบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงที่สุด 3. ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูมืออาชีพระดับประถมศึกษาพบว่าความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}= 4.27, S.D = 0.72) ความเป็นไปได้ของรูปแบบ อยู่ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x} = 4.28, S.D = 0.48) และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ อยู่ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}= 4.42, S.D = 0.65)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Avalos, B. (2011). Teacher professional development in Teaching and Teacher Education over ten years. Teaching and Teacher Education, 27(1), 10-20.

Butler, D., & Leahy, M. (2018). Moving towards innovation: The development of a sustainable framework for teacher professional learning. New York: Sage.

Blair, D.J. (2016). Experiential learning for teacher professional development at historic sites. Journal of Experiential Education. 18(1), 31-44.

Camburn, E.M., & Han, S.W. (2015). Infrastructure for teacher reflection and instructional change: An exploratory study. Journal of Educational Change, 16 (4), 511-533.

Harford, J. (2010). Teacher education policy in Ireland and the challenges of the twenty-first century. European Journal of Teacher Education, 33 (4), 349-360.

Kijpreedawholesome, B. (2006). Statistics for research. (4th ed.). Bangkok: Chamchuri Product.

Camburn, E.M., & Han, S.W. (2015). Infrastructure for teacher reflection and instructional change: An exploratory study. Journal of Educational Change, 16 (4), 511-533.

Chinnabut, T. (2017). Teachers' Perspectives, School Group, Educational Quality Development Network 21, Phu Sing District, Sisaket Province. Towards learning management that focuses on the learner is important. (Master's Thesis). North Bangkok University. Bangkok.

Ministry of Education. (2018). Education Quality Assurance 2018. Bangkok: Royal Gazette.

Ministry of Education. (2017). Revised National Education Development Plan (2009-2017). Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Ministry of Education. (2019). Education Reform. Bangkok: Cabinet and Royal Publishing House.

Office of Educational Research and Development (2016). Directions and research problems of Thai education to achieve the goal of Sustainable development of the world. Bangkok: 21 Century Company Limited.

Yao thani, T. (2017). Quality assurance system administration according to the CUPT QA educational quality assurance criteria of the Faculty of Nursing. University of Phayao. (Master’s Thesis). Phayao University. Phayao.