การสังเคราะห์ขั้นตอนการสอนคิดสร้างสรรค์ทางภาษาอังกฤษโดยใช้ เนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

แสงจันทร์ กะลาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์ขั้นตอนการสอนคิดสร้างสรรค์ทางภาษาอังกฤษโดยใช้เนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธี การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน กลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนการสอนคิดสร้างสรรค์ทางภาษาอังกฤษโดยใช้เนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การสร้างแรงจูงใจ ในการเรียนรู้ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. การค้นคว้าและแลกเปลี่ยนข้อมูล 3. การเขียนคำและประโยค 4. การสร้างสรรค์เรื่องหรืองานใหม่ และ 5. การนำเสนอผลงาน ขั้นตอนการเรียนรู้ดังกล่าวส่งเสริมให้นักเรียนสามารถคิดสร้างสรรค์ทางภาษา และมีคุณลักษณะในการใช้ภาษาอังกฤษมาสร้างสรรค์และแสดงออกถึงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเกี่ยวกับชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
กะลาม แ. (2021). การสังเคราะห์ขั้นตอนการสอนคิดสร้างสรรค์ทางภาษาอังกฤษโดยใช้ เนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 1091–1101. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/249151
บท
บทความวิจัย

References

Australia Curriculum. (2020). Critical and Creative Thinking learning continuum. Retrieved November 22, 2020, from https://www.australiancurriculum.edu.au/curriculum/

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2010). Core Curriculum of Basic Education in 2008. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federations of Thailand, ltd.

Ditsakul, P. (2019). Management Innovation of Primary Schools Based Concept of Developing Students’ Creativity. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Istiq Faroh, N., Mustadi, S., & Mustad, A. (2020). Improving elementary school students’ Creativity and writing skills through digital comics. Ilkogretim Online - Elementary Education Online, 19(2), 426-435.

Pahl, K., & Rowsell, J. (2005). Literacy and Education. United Kingdom: Great Britain by T.J. International, Padstow, Cornwall.

Safford, K., & Barrs, M., (2005). Creativity and Literacy: many routes to meaning Children’s language and literacy learning in creative arts projects (Research Report). United Kingdom: Center for Literacy in Primary Education.

Sopakool, A. (2020). The study of activities curriculum to enhance creative innovation abilities integrated local wisdom of secondary students’ in Nongbua Lampoo Province. Journal of Physics, 1667.

Treffinger, J. D. (2004). Creativity and Giftedness. USA: Corwin Press.

Torrance, E. P. (2004). Creativity and Giftedness. USA: Corwin Press.

Torrance, E. P. (1964). Creative: Progress and Potential. New York: McGraw-Hill.

Torrance, E. P. (1969). Creativity. Belmont. CA: Fearon.

Wilson, A. (2015). Creativity in Primary Education. (3rd ed.). United Kingdom: CPI Group td.