รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมยุคใหม่ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล

Main Article Content

จิตประสงค์ ทมะนันต์
พงษ์ธร สิงห์พันธ์
สุวิมล โพธิ์กลิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมยุคใหม่ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีการวิจัยเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารหรือผู้ที่รับผิดชอบงานวิชาการ จำนวน 366 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารจำนวน 3 คน จาก 3 โรงเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการ จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียนบ้านดอนใหญ่ จำนวน 15 คน ได้มาโดยความสมัครใจ และระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบ โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมยุคใหม่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลมี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ ได้แก่ การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมยุคใหม่ 2) จุดมุ่งหมาย ได้แก่ การมีส่วนร่วมโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการบริหารงานวิชาการ 3) กลไกการดำเนินการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร 4) การดำเนินการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการบริหารงานวิชาการ ทั้ง 4 ด้าน คือ การวางแผนงานวิชาการ การจัดการเรียนการสอน การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 5) การประเมินผล ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ความพึงพอใจและความสมัครใจเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

Article Details

How to Cite
ทมะนันต์ จ., สิงห์พันธ์ พ., & โพธิ์กลิ่น ส. (2021). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมยุคใหม่ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 1202–1216. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/249117
บท
บทความวิจัย

References

Anzar, U. (1998). An Exploratory Study of Factors Which Have Contributed to the Sustainability of Community Participation in Education in Balochistan of Pakistan. (Doctoral Dissertation). American University. Washington, D.C.

Goodheart, H. (2010). The Instrument and Expressive Characteristics of Public Secondary School and Effectiveness. New York: McGraw-Hill.

Grissom, J. (2012). Revisiting the Impact of Participative Decision Making on Public Employee Retention: The Moderating Influence of Effective Managers. The American Review of Public Administration, 42(4), 400-418.

National Education Act B.E. 2542. (2003). Government Gazette. Bangkok: Office of the Education Council.

National Education Plan B.E. 2560 – 2579. (2017). Government Gazette. (1st ed.). Bangkok: Office of the Education Council.

Ngamkanok, S. (2017). ASEAN Educational Leaders in the Next Decade. (Research Report). Chonburi: Burapha University.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). The 12th National Economic and Social Development Plan B.E. 2560 – 2564. (1st ed.). Bangkok: Office of the Prime Minister.

Prachyapruit, A. (2018). The Development of Teacher Preparation Model for Education 4.0 Era. Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University.

Sholhead, J. E. (1998). The Relationship Between Participative Management and Job Satisfaction in a Department of Defense Environment. (Doctoral dissertation). Nova Southeastern University. Florida.

Srisa-arn, B. (2019). A New Paradigm in Educational Administration to Build Professional Leaders. Proceedings of the Conference on Trends and Directions for Professional Development in Educational Administration in the Era of Thailand 4.0. Bangkok: The Association of Educational Administration Professional Development of Thailand.

Vehachart, R. (2020). Revolutionizing Education in the Digital Age. (1st ed.). Bangkok: The Association of Educational Administration Professional Development of Thailand.

Westbrook-Spaniel, C. (2008). How Teachers Learn, Select, and Implement “Effective” Classroom Management. New Mexico: State University Las Cruces.