การพัฒนาองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และแบบประเมินภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

คมคาย น้อยสิทธิ์
บุญเรียง ขจรศิลป์
ธนีนาฏ ณ สุนทร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี 2) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ 3) พัฒนาแบบประเมินภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ 4) ทดลองใช้แบบประเมินภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบประเมินภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ และศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 300 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า มี 5 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 15 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านการปฏิบัติภาวะผู้นำ มี 4 ตัวบ่งชี้ ด้านการมีวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม มี 4 ตัวบ่งชี้ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม มี 3 ตัวบ่งชี้ และด้านการสร้างแรงจูงใจ มี 4 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทุกตัวมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 3) แบบประเมินภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา มีลักษณะเป็นมาตรวัดแบบประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ .920 4) ผลการทดลองใช้แบบประเมิน พบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้มีความตรงเชิงโครงสร้าง และผลการประเมินระดับภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจอยู่ในระดับปานกลาง




Article Details

How to Cite
น้อยสิทธิ์ ค., ขจรศิลป์ บ., & ณ สุนทร ธ. (2022). การพัฒนาองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และแบบประเมินภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1726–1739. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/248969
บท
บทความวิจัย

References

Gronn, P. (2003). Leadership: Who Needs it?, School Leadership and Management, 23(5), 267-290.

Hermann, K. R. (2016). The Principal’s role: Distributed leadership. (Doctoral Dissertation). Old Dominion University, Norfolk, VA.

Forsythe, J. (2019). Winning Strategies for Fostering Teamwork in the Workplace. Retrieved June 23, 2019 from http://www.igloosoftware.com/blog/teamwork-in-the-workplace/

Kajornsin, B. (1990). Research methods in education. (2nd ed.). Bangkok: Physics Center Press.

Leekitchwatana, P. (2016). Research methods in education. (11th ed.). Bangkok: Mean Service Supply.

Nonthaburi Primary Education Service Area Office 1. (2019). Information. Nonthaburi: Policies and Plans.

Office of the Civil Service Commission. (2016). Effectiveness of team building. Retrieved December 21, 2018, from http://www.ocsc.go.th

Office of the Education Council. (2017). The national scheme of education B.E. 2560-2575 (2017-2036). Bangkok: Phrik-hwan Co., Ltd.

Sirichotiratana, N. (2017). Human resource management in the 21st century. Bangkok: Chulalongkorn university printing house.

Spillane, J. P. (2006). Distributed Leadership. San Francisco: Jossey-Bass.

Tangdhanakanond, K. (2016). Measurement and evaluation of practical skill. Bangkok: Chulalongkorn University Press.