ผลสัมฤทธิ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

Main Article Content

ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย
ณรงค์ กุลนิเทศ
นภัสสรณ์ สุพัฒน์อัญพร

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจสังคม พ.ศ. 2562 เป็นกลไกพัฒนาประเทศและลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของสังคม ผลสัมฤทธิ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคมจึงเป็นเรื่องที่ควรนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและดำเนินงานตามนโยบายของรัฐ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ของปัจจัย ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และ 2) พัฒนารูปแบบของผลสัมฤทธิ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณนั้นได้เก็บตัวอย่างจากผู้บริหารของบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 300 ตัวอย่าง กำหนดจำนวนโดยใช้หลัก 20 เท่าของตัวแปรสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติโดยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทประชารัฐฯ และที่เกี่ยวข้อง จำนวน 11 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคมในระดับมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย การบริหารการตลาด บริบทการเข้าถึงทรัพยากรชุมชน การบริหารจัดการ และการบริหารการเงิน ตามลำดับ 2) รูปแบบของผลสัมฤทธิ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคม ประกอบด้วย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ทรัพยากรวัตถุดิบ การผลิต ในชุมชน การมีส่วนร่วม การเข้าถึงแหล่งทุน การบริหารต้นทุน และการดำเนินงานทางการเงิน โดยพบว่าทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม ผลการวิจัยจะเสนอแนะเป็นแนวทางการดำเนินงานนโยบายของภาครัฐ เช่น ช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ การระดมทุนสำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคม การทบทวนมาตรการภาษี ตลอดจนถึงการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Achavanuntakul, S. (2009). Documents for a Lecture on Social Enterprise, introduces a Global Model SE. Thailand. Retrieved August 3, 2019, from http://www.slideshare.net/sarinee/social-enterprise-world-Thailand-8191749.

Angsuchot, S., et, al. (2011). Quantitative Ananlysis for Social Science and Behavioral Science Research: Application of LISREL Program Techniques. (3rd edition). Bangkok: Chareondee Munkong Printing.

Bardo, J. W., & Hartman, J. J. (1982). Urban sociology: A systematic introduction. New York: F.E. Peacock.

Burikul, T. (2015). The Essence of The Reformed Constitution. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.

Chamornman, U. (1998). What’s Model?. Academic Journal of Chulalongkorn University.

Chansiri, N. (2016). The Success Factors of Community Organization Management: A Case of Community Finance Organizations Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Humanities and Social Sciences Suratthani Rajabhat University, 9(2), 266-294.

Elkington, J. (1994). Towards the Sustainable Corporation: Win-Win-Win Business Strategies for Sustainable Development. California Management Review, 36, 90-100.

Good, C. V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill. Kaewmanee, T. (2016). Good Governance. Bangkok: Siam Pritat.

Keeves, J. P. (1998). Methods and processes in research in science education. New York: John Wiley and Sons.

Kotler, P. (1999). Marketing management analysis, planning and control. (10th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Kotler, P., & Keller, K. (2009). Marketing management. (13th ed.). N.J.: Pearson Prentice Hall.

Nilprapan, S. (2015). Social Enterprise. Retrieved June 8, 2019, from http://lawdrafter.blogspot.om/2015/02/social-nterprise.html.

Office of Social Enterprise Promotion. (2019). Social Enterprise Promotion Act 2019. Retrieved August 3, 2019, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0032.PDF.

Reed, MS., Vella, S., Challies, E., & Vente, J. (2017). A Theory of Participation: What Makes Stakeholder and Public Engagement in Environmental Management Work?. Restoration Ecology: Wiley Periodicals, Inc.

Stoner, J. A. F., & Freeman, E.R. (1986). Management. (3rd ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Takawicharna, S. (2015). Buddhist human resource development. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Wallace, S. L. (1999). Social entrepreneurship: The role of social purpose enterprises in facilitating community economic development. Journal of Developmental Entrepreneurship, 4(2), 153-174.